คิดจะทำสื่อ off-line เกี่ยวกับ billboard อะ รู้ยังว่ามันมีภาษีด้วยนะ

ป้ายโฆษณาเสียภาษี
ป้ายโฆษณาเสียภาษี

วันนี้ได้ความรู้มาอีกอย่างสำหรับการทำสื่อ Marketing off-line ในการใช้ป้าย โฆษณา Bill Board อะ มันไม่ง่ายอย่างที่คิดนะ อะไรหละที่ว่ายาก ภาษีป้ายครับ  “งง ครับ” ทำป้ายต้องเสียภาษี Search เข้ามาใน google อึ้งกิมกี่ ถึงได้ทำไม ใน bill board ที่เห็นส่วนใหญ่มันเป็นภาษาไทย

ข้อกฏหมาย

ภาษีป้าย หมายถึง ภาษีที่เก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือ ประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้หรือโษษณาการค้า หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียนแกะสลัก จารึกหรือทำให้ปรากฎด้วยวิธีอื่น

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย คือ เจ้าของป้าย หรือผู้ครอบครองป้ายในกรณีไม่มีผู้อื่นยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย หรือเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจหาตัวเจ้าของป้ายนั้นได้ ให้ถือว่าผู้ครอบครองป้ายนั้นเป็นเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ถ้าไม่อาจหาตัวผู้ครอบครองป้ายนั้นได้ ให้ถือว่าเจ้าของ หรือผู้ครอบครองอาคาร หรือที่ดินที่ป้ายนั้นติดตั้ง หรือแสดงอยู่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายตามลำดับ

อัตราภาษีป้าย
1. ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน คิดภาษี 500 ตร.ซม. ต่อ 3 บาท
2. ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศหรือปนกับภาพ และหรือเครื่องหมาย คิดภาษี 500 ตร.ซม. ต่อ 20 บาท
3. (ก) ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใด ๆ
(ข) ป้ายที่มีอักษรทั้งหมด หรือบางส่วนอยู่ใต้และหรืออยู่ต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ คิดภาษี 500 ตร.ซม. ต่อ 40 บาท
ป้ายเมื่อคำนวณพื้นที่จำนวนเงินภาษีไม่ถึงป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท

หลังจากศึกษาข้อกฏหมายภาษีป้าย กลับมาดู Stock Photo ใน HDD ได้ข้อกระจ่างเลย เออ ทำไม Bill Board ในเมืองไทย มันเป็นภาษาไทยเยอะจัง ก็คือ เข้าข้อ 1 ของการเสียภาษี
 ตัวอย่างป้ายเก่า ของ Boss @pawoot ยังเป็นภาษาไทย

ภาษีป้าย สำหรับสื่อ offline
ภาษีป้าย สำหรับสื่อ offline

อันนี้อีกอัน รถติดแล้วแอบถ่ายมา

ภาษีป้ายกับการเสียภาษี
ภาษีป้ายกับการเสียภาษี

ตอนนี้ก็เลยต้องมาวาง font ภาษาไทย เป็นตัวตั้งต้นกันหละที่นี้ สำหรับคนที่จะทำ Add ในรูปแบบ Bill Board คงได้ความรู้ไปอีก 1 Step

การขออนุญาตติดตั้งป้ายหรือเสียภาษี
1. ให้เจ้าของป้ายหรือผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายแจ้งขนาดและยื่นภาพถ่วยหรือภาพ สเก็ตของป้ายและแผนผังบริเวณที่ติดตั้งป้ายนั้นมาพร้อมกับคำขออนุญาตติดตั้ง ป้ายหรือแบบ แสดงรายการภาษีป้ายแล้วแต่กรณีเพื่อประโยชน์ในการสำรวจตรวจสอบ
2.ในการติดตั้งป้ายต้องไม่มีลักษณะที่จะเป็นอันตราจต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน และบริเวณที่ไม่อนุญาติให้ติดตั้งป้าย ได้แก่ บริเวณคร่อมถนน หรือทางสาธารณะ วงวียน อนุสาวรีย์ สะพาน สะพานลอย คนเดินข้ามถนนเกาะกลางถนน สวนหย่อม สวนสาธารณะ ถนน ต้นไม้ และเสาไฟฟ้า ซึ่งอยู่ในที่สาธารณะ

หลักฐานที่ต้องนำไป
1. บัตรประจำตัวประชาชน / สำเนาทะเบียนบ้าน
2. ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม / หนังสือรับรองห้างหุ้นส่วน
3. ใบเสร็จรับเงินปีที่แล้ว

กำหนดเวลายื่นแบบ
– เจ้าของป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายและชำระภาษีป้าย ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี
– เจ้าของป้ายต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่
1. มีป้ายต้องเสียภาษีป้าย ภายหลังเดือนมีนาคม
2. มีป้ายใหม่ แทนป้ายเดิมที่เสียภาษีป้ายแล้ว
3. เปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายเดิมเป็นเหตุให้เสียภาษีป้ายหรือภาษีป้ายเพิ่มขึ้น
– ผู้รับโอนป้าย แจ้งการรับโอนป้ายภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันรับโอนป้าย

การชำระภาษี
– ให้เจ้าของป้ายชำระภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
– ป้ายที่เริ่มติดตั้ง หรือแสดงในปีแรกให้เสียภาษีป้าย ตั้งแต่วันที่ติดตั้งหรือแสดงจนถึงวันสิ้นปี ถ้าภาษีป้ายเกิน 3,000 บาท ขึ้นไป ผ่อนชำระเป็น 3 งวด ๆ ละเท่า ๆ กันก็ได้

บทกำหนดโทษ
1. ผู้ใดจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท
2. ผู้ใดโดยรู้หรือจงใจแจ้งข้อควมเท็จ ให้ถ้อยคำเท็จ หรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีป้ายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ
3. ผู้ใดไม่แจ้งรับโอนป้าย หรือไม่แสดงรายการเสียภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานที่ประกอบกิจการ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท ระยะเวลาการให้บริการโดยประมาณ 10 นาที ต่อรายไม่รวมขั้นตอนการตรวจสอบ สอบสวน (ถ้ามี)

Webmaster
Anantachai ittiworapong

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *