E-commerce หรือ ระบบซื้อขายผ่าน online ในรูปแบบ B2C (Business 2 Customer ) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้บริการจะเป็น SMEs หรือ บุคคลทั่วไปนั้น ณ ปัจจุบัน ที่ไปใช้หลาย ๆ Website นั้น มี Platform ที่คล้าย ๆ กัน คือ ง่าย และ ทำได้เลย ณ ตอนนี้มีหลายหลายบริษัท ฯ ให้บริการอยู่ไม่ว่าจะเป็นที่ให้บริการและเป็นที่รู้จัก Tarad.com ,Weloveshopping หรือจะเป็นการเช่า host พื้นที่ มาลง opensource เช่น WordPress e-commerce, PrestaShop E-commerce, Magento , Joomla หรือ แม้กระทั้่งที่นิยม Opencart แต่สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ ถ้าได้ใช้ opensource ระบบนี้แล้วข้อจำกัดยังไม่สามารถตอบโจทย์ได้
เท่าที่ประสบพบเจอปัญหาของ Open source ที่ยังไม่สามารถนำมาใช้กับระบบ E-commerce ขององค์กรได้ คือ ตัวอย่างเช่น
1. Database Off-Line /ระบบ POS (Point of sales) มีการขายหน้าร้าน แยกเป็น database off-line) Stock รวมเป็น Database ก้อน
ใหญ่มากการจะเอา Database ในราคา off-line และ โชว์บน online พร้อมกันแบบ Real-time นั้นเป็นเรื่องยาก
2. สินค้ามีหลากหลายชิ้น หลากหลายขนาด หลายราคา มีส่วนลด มี Promotions มีของแถม อื่น ๆแล้วแต่ Promotions (Open
Source ทำได้แต่ต้อง Customize แบบต้องรู้ลึกระบบที่เอามาใช้)
3. สมาชิก มีการแบ่ง Type (VIP,General,อื่น ๆ) พร้อมที่จะเก็บคะแนนของสมาชิกในการแลก point ได้ รวมถึงการที่ลูกค้าซื้อ
off-lineแล้ว คะแนนเวลาซื้อ online ต้องเท่ากันหรือการปรับยอดอย่างช้าสุดคือ 1 วัน
4. ระบบ search หาสินค้าแบบ Advance หรือ ระบบทดแทน เช่น ถ้าเกิดหาสินค้ายี่ห้อนี้แล้วไม่มี แต่จะสามารถหาสินค้าเหมือนกันแต่คนละยี่ห้อนำมาแสดงได้ หรือ ระบบจับคู่กันได้ เป็นต้น
ทั้ง 4 ข้อคือตัวอย่างปัญหาเบื้องต้น ยังไม่รวม detail อื่น ๆ เช่น การปรับยอดสินค้าคืน Stock เวลาลูกค้าเลือกชำระเงินแล้วไม่ชำระเงิน,การออก report , การขนส่งสินค้า ว่าสินค้าจบตามใบงานหรือยัง ซึ่งมี Detail ปลีกย่อยอีก 108
การทำงานของระบบ E-commerce องค์กรขนาดใหญ่ หลังจากเราทราบ requirement แบบละเอียดของ business ของลูกค้าแล้วเราต้องมาปลีกย่อยระบบการทำงานต่อไปดังนี้
Database Management เราจะจัดการ Database ขนาดใหญ่ ในรูปแบบ off-line ได้อย่างไร
1. โครงสร้าง Database ของทางลูกค้า ไม่ว่าจะแบ่งออกมาเป็น Catalog, Sub Catalog ,Product, สี,ขนาด,ราคา,อื่น ๆ เราต้องออกแบบ
ให้รองรับ ใน Database แบบ online ให้เหมือนกัน โดยเป็นการ Export จาก database ตัวใหญ่ (off-line) เข้าสู่ระบบ Online (ซึ่งจะต้องมีการตั้งเวลาในการ sync ให้ Database นั้นเท่ากัน)อาจจะเป็นวันละ 1 รอบ หรือ วันละ หลาย ๆ รอบ
2. การพัฒนา Service call Engine หรือ เรียกอีกอย่างคือ API (Application programming interface) เป็นระบบหลักที่จะใช้พูดคุย
กับ Server ที่มี Database กลางขนาดใหญ่ของลูกค้า โดยฝั่งหนึ่ง Programmer ของทางลูกค้า ก็จะเขียน API รอไว้ โดย กรณี หน้า Website มีการเรียกข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นสินค้า ราคา Promotions การคำนวณส่วนลดทางการค้า หน้า website ก็จะส่งค่าเข้ามา ที่ Programmer ของทางลูกค้า ที่เขียน api รอไว้ ช่วยส่งค่าที่ร้องขอกลับมาที่หน้า Website ทำให้ข้อมูลนั้นตรงกันระหว่าง online และ offline
3. เมื่อได้ระบบ Database ที่ทำงานเชื่อมกันระหว่าง online – offline แล้ว ก็เอาระบบ ของ E-commerce เข้ามาประกอบใน Website ตาม requirement ให้สามารถทำงานได้ทั้ง online และ off-line
4. เชื่อมโดยระบบ Membership Management (สามารถจะใส่ Filed from อะไรได้ทั้งหมด แม้แต่ความชอบ ที่อยู่ปัจจุบัน ที่อยู่ในการส่งของ ซึ่งระบบหน้า Website จะ update มากกว่า Database กลาง ซึ่งเมื่อสิ้นวัน ทางระบบ Website ก็จะส่งค่า update เข้าไปที่ Database กลาง แต่จะ update หรือ insert แล้วแต่ว่าลูกค้าต้องการเก็บข้อมูลลักษณะไหน)
5. เชื่อมระบบ Online Catalog Module หรือเรียกอีกอย่างว่าการ ดู Display สินค้าตามหมวดหมู่แยกตามรหัส,สี,ราคา ,อื่น ๆ
โดยสินค้าที่ import เข้าไปนั้นจะเป็นสินค้าที่มาจาก database กลาง แต่ส่วนใหญ่ หน้า font นั้นรูปภาพจะไม่มีจะต้องมาใส่เองที่หน้า Website เพราะระบบ POS นั้นไม่ได้เก็บรูปภาพ แบบ หลาย ๆ รูป
6. เชื่อมระบบ Promotions โปรโมชั่นนี่เป็นสิ่งที่ยากในการทำงาน ซึ่ง Req นั้น จะกำหนดในรอบ 1 ปี จะมี Promotions ไว้จำนวนกี่อย่าง เช่น ซื้อ 1 แถม 1 ตาม SKU ไหน หรือ ซื้อแล้วส่วนลดเป็นอย่างไร Promotions มีหลักการทำงานคือ ใช้ระบบเป็นตัวกำหนด กับการเขียน API เชื่อมเข้ายัง Center กลางไว้ให้เรียกข้อมูลเมื่อรหัสสินค้าตรงกัน จะมีส่วนลด หรือ แถม ให้โชว์ที่หน้า Website
7. นอกนั้นก็จะเป็นระบบ Shopping card เชื่อมต่อกับ Payment Gateway ทำให้เราสามารถ shopping ได้ผ่านบัตร visa card,master card ได้ รวมถึงดู history report ว่าได้ซื้อสินค้าอะไรไปแล้วบ้าง
8. ระบบอื่น ๆใน E-commerce เช่น related product , report, history, emails list จะไม่พูดถึง เพราะระบบนี้ E-commerce ในระดับ B2C มีใช้ระบบใหญ่ ๆ ก็มี เพียงแต่ Design ในการ out put ออกมาจะเป็น Corporate CI ของลูกค้าเอง
ทั้งหมดนี้คือประสบการณ์ของการทำงานให้ E-commerce องค์กรขนาดใหญ่จนจบงานแล้ว
1. Top super market
2. Office Depot e-porcurement
3. ระบบ Online Dealer Microsoft
ติดต่อสอบถามรายละเอียดต้องการทำระบบ E-commerce B2B ,B2C ได้ที่
นายอนันตชัย อิทธิวรพงศ์
Senior Sales Manager
Tarad Solution Co.,Ltd.
Tel : 0866188111
Emails address : anantachai@taradsolution.com
One thought on “ประสบการณ์ทำ E-commerce Platform สำหรับองค์กรขนาดใหญ่”