8 วิกฤติที่ท้าทายสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องผ่านไปให้ได้ ก่อนก้าวต่อในปี 2568 (2025)

8 วิกฤติที่ท้าทายสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องผ่านไปให้ได้ ก่อนก้าวต่อในปี 2568 (2025)

ลองสังเกตุธุรกิจตัวเองวันนี้จากยอดขายของเราเริ่มมีแนวโน้มลดลง, Stock สินค้าเริ่มบวม ,ต้นทุนสินค้าเริ่มเพิ่มขึ้น และ เหมือนกับว่าลูกค้า (B2B) เราเริ่มจะขอขยาย Credit เพิ่ม จาก 30 วัน เป็นยาวขึ้นเรื่อย ๆ แล้วตั้งคำถามว่าทำไมถึงเป็นแบบนี้? ก็ไม่ต้องแปลกใจครับ เพราะเรากำลังอยู่ในช่วงเจอวิกฤติและมรสุมหลาย ๆ อย่างเข้ามากระทบกับธุรกิจเราทั้งทางตรง และ ทางอ้อม ซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องเข้าใจหาทางแก้ปัญหา และต้องก้าวข้ามไปก่อนเข้าสู่ปี 2025

จากภาพรวมที่ลงไปสัมผัสกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ณ ตอนนี้จะมีปัญหาอย่างใหญ่หลวงที่สุดตอนนี้คือ Cash- Flows ไม่เดิน (ไม่หมุน) จากระบบเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ มันมีปัจจัยอะไรบ้าง ณ ตอนนี้ที่กระทบไปทั้งหมดขอสรุปที่เห็นมาเขียนไว้ใน Blog นี้

Table of Contents

8 วิกฤติที่ท้าทาย (เลขราหู) ที่มีผลต่อผู้ประกอบการมีอะไรบ้าง?

1.Climate Change ที่ควบคุมไม่ได้จากธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม,โลกร้อน ,แล้ง, มลพิษทางอากาศ

ผู้ประกอบการ, เจ้าของธุรกิจ ที่อยู่ในพื้นที่ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติจะได้รับผลกระทบต่อความสูญเสียจากเหตุการณ์ที่ควบคุมไม่ได้ มีผลต่อการประกอบธุรกิจซึ่งอาจจะถึงขั้นปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงาน

น้ำท่วมเชียงราย,น้ำท่วมเชียงใหม่ และภาคอื่น ๆ (ยังไม่แน่ใจว่ากรุงเทพจะโดนด้วยไหม) ที่ไม่สามารถประเมินความเสียหาย และ ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่ามันจะไม่เกิดขึ้นอีก และ หลังจากเกิดขึ้นแล้ว มูลค่าความเสียหายมันมีมูลค่าสูง ที่ทำให้หลายกิจการอาจจะตัดสินใจปิดกิจการไปดีกว่า

2. Geo Politics ความขัดแย้งในภูมิภาคของประเทศ และ กฎหมายต่าง ๆของการกีดกันทางการค้า

ทุกการขัดแย้งของแต่ละประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสงครามตะวันออกกลาง มักจะมีผลกระทบที่ตามมาเสมอ เนื่องจากว่าประเทศไทยไม่ใช่ประเทศต้นทางในการผลิตน้ำมันที่สำคัญ เราต้องนำเข้าสินค้าเข้ามา ทุกครั้งที่มีสงคราม ราคาน้ำมันจะมีการเพิ่มขึ้นเสมอ ส่งผลให้ต้นทุนในการนำเข้ามาเพิ่มขึ้นทำให้ราคาสินค้าในบ้านเราจะแพงเสมอ ยิ่งทำให้ภาระของผู้ประกอบการไทย ได้รับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึันไปโดยปริยาย

3. การเข้ามาของสินค้าจีนที่ไร้การควบคุม

สินค้าของประเทศจีนในราคาที่ถูกกว่า เนื่องจากต้นทุนในการผลิตและจำนวนสินค้าที่ผลิตจากต้นทางจำนวนมาก แล้วระบายมาที่ประเทศบ้านเรา ในราคาที่ถูกกว่า ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs ไม่สามารถไปแข่งขันได้ ส่งผลให้เริ่มเห็นการทยอยปิดกิจการลงเป็นจำนวนมาก

4. แพล็ตฟอร์มเริ่มขึ้นค่าคอมมิชชั่น และ COD เริ่มมีการจ่ายเงินให้คนขายยาวขึ้น 5 วัน

การปรับเปลี่ยนนโยบายของ แพล็ตฟอร์มผู้ให้บริการระดับต้น ๆ ของประเทศไทย ณ ปัจจุบันจะอยู่ประมาณ 20 % และ เพิ่มเงื่อนไขในการปรับคะแนนกรณีส่งของล่าช้า รวมถึงการขยายระยะเวลา COD (Cash On Delivery) เป็น 5 วันทำให้คนที่ขายของใน แพล็ตฟอร์มต้องสำรองเงินไว้ตลอดเวลาที่มากขึ้น อีกทั้ง กฏของการคืนสินค้าเวลาเปิดของก็เป็นสิ่งที่น่ากังวลในการขอคืนของตลอดเวลา นี่ยังไม่รวมค่า ADS นะที่ให้เปิดการมองเห็น ซึ่งเท่ากับว่า ต้องขายได้เท่าไหร่ถึงจะคุ้มทุน

5. ฝั่งคนซื้อ (Power of Purchase) กำลังซื้อหด หายไปจากตลาด

ปัญหาลูกจ้างโดนเลิกจ้าง หรือ จากกิจการถูกปิดไป ส่งผลให้กำลังซื้อหายไปจากตลาด สินค้าที่เคยสามารถจ่ายได้ อาจจะต้องคำนึงถึงปัจจัย 4 เป็นหลัก และ การก่อหนี้ครัวเรือนจากบัตรเครดิตหลายใบ และ เงินกู้นอกระบบ ทำให้กำลังซื้อทุกอย่างหายไปจากตลาด ตอนนี้ไปเดินตลาดหรือห้างสรรพสินค้า เงียบมากครับ

6. ธนาคารไม่ปล่อยกู้ เงินไม่หมุนเวียนในระบบ

ผู้ประกอบการ ณ ปัจจุบันกู้ยากขึ้น เนื่องด้วยธนาคารก็กลัวหนี้เสีย ลูกค้าในการปล่อยกู้ในระบบ จะเลือกเยอะมาก คนที่ขอสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยนที่ได้ราคาถูกกว่า มักจะเป็นลูกค้าชั้น A ส่วนลูกค้าโดยทั่วไปจะไม่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อเท่าที่ควรทำให้องค์กรหลายที่ไม่มีเงินหมุนเวียน

7. ค่าแรง 400 ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการ (อนุมัติเมื่อไหร่ตายเมื่อนั้น)

ต้นทุนของบุคลากร จาก 3XX เป็น 400 บาท สร้างภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้ประกอบการเยอะมาก เพราะ เมื่อคำนวณจากยอดขายที่ลดลง และ ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นแล้ว บวกกับค่าแรงที่ปรับขึ้นแทบจะประกอบธุรกิจไม่ได้กำไร หรือ อาจจะขาดทุนก็ได้ ยังไม่รู้ว่าจะดำเนินธุรกิจต่ออีกดีหรือเปล่า

8. เทคโนโยลีเริ่มเก่า สินค้าเริ่มไม่ทันสมัยและไม่เป็นที่ต้องการของตลาด

สิ่งที่น่าห่วงที่สุดคือ Stock สินค้าจม และ สินค้าเริ่มไม่เป็นที่ต้องการของตลาด และสินค้าเข้าอื่นๆ เข้ามาแทนที่ได้เร็วขึ้น ปรับตัวไม่ทันตลาด ไปใช้งบโฆษณาเกินตัว และ สินค้าระบายไม่ได้ ก็เป็นอีกปัญหานึงที่เจอทุกวัน

ปัญหาที่ต้องเจออาจจะมีมากกว่า 8 หัวข้อ และ ทุกปัญหาก็จะมีทางออกของมันเสมอ ทุกวิกฤตจะมีโอกาสด้วยเช่นกัน การแก้ปัญหา ณ ตอนนี้ สิ่งที่สำคัญคือต้องบริหาร Cash-Flows ให้เก่ง ในบทความต่อไปจะมาดูบริบทในการแก้ปัญหา อาจจะไม่ได้เป็นวิธีที่ดีทึ่สุดแต่อย่างน้อยก็เป็นอีกทางรอดในปี 2567 เพื่อเข้าสู่ปี 2568 (2025) ต่อไป เป็นกำลังใจให้กับผู้ประกอบการทุกท่านนะครับ

ขอบคุณสำหรับการเข้ามาอ่านบทความ
พี่อ้วน
www.idea2mobile.com