2025 Customer Type in Thailand จากการสอบถามคน 1,000 คน แบ่งผู้บริโภคในประเทศไทยได้ 7 ประเภท

2025 Customer Type in Thailand จากการสอบถามคน 1,000 คน แบ่งผู้บริโภคในประเทศไทยได้ 7 ประเภท

ในปี 2024 Euromonitor International ได้วิเคราะห์และจำแนกกลุ่มผู้บริโภคในประเทศไทยออกเป็น 7 ประเภท ตามพฤติกรรมและความสนใจ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับธุรกิจในการปรับกลยุทธ์การตลาดให้เหมาะสมกับผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม ดังนี้

1. Brand Champions (56%)

ผู้บริโภคกลุ่มนี้มีความภักดีต่อแบรนด์ ชอบสินค้าแบรนด์เนม และมักมีส่วนร่วมกับแบรนด์เพื่อพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ

2. Connected Shoppers (54%)

เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียเพื่อช่วยตัดสินใจซื้อสินค้า

3. Experience Seekers (45%)

เน้นการใช้เงินเพื่อประสบการณ์ที่หลากหลายและน่าประทับใจมากกว่าสินค้า

4. Changemakers (38%)

สนับสนุนแบรนด์ที่มีจุดยืนเรื่องสิ่งแวดล้อมและสังคม

5. Wellness Enthusiasts (36%)

ให้ความสำคัญกับสุขภาพกายและใจ โดยมองหาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม

6. Trendsetters (22%)

รักแฟชั่นและติดตามเทรนด์ใหม่อยู่เสมอ

7. Budgeteers (16%)

ใช้จ่ายอย่างรอบคอบ มองหาสินค้าราคาคุ้มค่า

พฤติกรรมการช้อปปิ้งของ Brand Champions การซื้อที่อยู่กับแบรนด์

ลักษณะเด่น:

  • ชอบสินค้าแบรนด์เนมและมีส่วนร่วมกับแบรนด์
  • 94% ชอบมีส่วนร่วมกับแบรนด์
  • 91% เชื่อมั่นในแบรนด์ที่ตนเลือก

แรงจูงใจในการช้อปปิ้ง:

  • ไว้วางใจรีวิวจากผู้บริโภค
  • มองหาประสบการณ์ที่ปรับแต่งเฉพาะ

ค่านิยมและพฤติกรรมของ Brand Champions

  • ให้ความสำคัญกับ:
    • คุณภาพและความน่าเชื่อถือของสินค้า
    • การมีส่วนร่วมกับแบรนด์เพื่อปรับปรุงนวัตกรรม
  • ชอบวิธีการซื้อสินค้า:
    • ออนไลน์: เน้นความสะดวก, รีวิวสินค้า, และจัดส่งฟรี
    • ออฟไลน์: ต้องการทดลองสินค้าและมั่นใจในความน่าเชื่อถือของร้านค้า

Connected Shoppers: ใครคือกลุ่มนี้?

ผู้บริโภคกลุ่ม Connected Shoppers คิดเป็น 54% ของผู้บริโภคในประเทศไทย โดยมีลักษณะเด่นดังนี้

ลักษณะสำคัญ

  1. พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยี:
    • 91% ใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความสะดวกในชีวิตประจำวัน
    • 87% ทำการค้นคว้าข้อมูลสินค้าก่อนซื้อ
    • 79% ต้องการมีส่วนร่วมกับแบรนด์ผ่านช่องทางต่าง ๆ
  2. ความเรียบง่ายและความเชื่อถือได้:
    • 90% มองหาวิธีลดความยุ่งยากในชีวิต
    • 80% ซื้อเฉพาะจากแบรนด์ที่ไว้วางใจได้
    • 85% เชื่อมั่นในรีวิวสินค้าจากผู้บริโภค
  3. การปรับประสบการณ์การซื้อให้เฉพาะตัว:
    • 87% ชอบสินค้าที่ปรับแต่งเพื่อตอบโจทย์ความต้องการส่วนบุคคล
    • 83% มองหาประสบการณ์ที่ “ถูกใจ” และเหมาะกับรสนิยม

พฤติกรรมการช้อปปิ้ง

  • ออนไลน์:
    • กลุ่มนี้เน้นการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล เช่น อีคอมเมิร์ซ
    • มองหาข้อมูล เปรียบเทียบราคา และรีวิวสินค้าได้ง่าย
    • เน้นความสะดวก เช่น การจัดส่งฟรี และสามารถสั่งซื้อได้ทุกที่ ทุกเวลา
  • ออฟไลน์:
    • แม้เป็นผู้ใช้งานออนไลน์หลัก แต่ยังคงมองหาประสบการณ์การช้อปปิ้งที่ตอบโจทย์ เช่น
      • ทดลองสินค้า
      • เชื่อถือในร้านค้าที่มีหน้าร้านจริง

การเข้าถึง Connected Shoppers

  • ผสมผสานดิจิทัลกับประสบการณ์จริง:
    • สร้างประสบการณ์ที่ไร้รอยต่อระหว่างช่องทางออนไลน์และออฟไลน์
    • ใช้เทคโนโลยี AI และ Chatbot เพื่อช่วยเพิ่มความสะดวก
  • โปรโมทเทรนด์ล่าสุด:
    • ดึงดูดด้วยการนำเสนอเทรนด์ใหม่ผ่านโซเชียลมีเดีย
  • การปรับแต่งเฉพาะบุคคล (Personalisation):
    • มอบประสบการณ์ที่ปรับตามความต้องการของผู้บริโภคแต่ละราย เช่น โปรโมชั่นพิเศษ

Wellness Enthusiasts: ใครคือกลุ่มนี้?

ผู้บริโภคกลุ่ม Wellness Enthusiasts คิดเป็น 36% ของผู้บริโภคในประเทศไทย โดยมีความสนใจหลักอยู่ที่การดูแลสุขภาพทั้งกายและใจ รวมถึงการใช้สินค้าและบริการที่ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีแบบองค์รวม

ลักษณะสำคัญ

  1. ความสำคัญต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
    • มองหาสินค้าและบริการที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพ เช่น อาหารสุขภาพ ผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย และกิจกรรมผ่อนคลาย
    • เชื่อมโยงสุขภาพกาย ใจ และอารมณ์เข้าด้วยกัน
  2. การใช้เทคโนโลยีและข้อมูลเพื่อสุขภาพ
    • 90% ใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงชีวิตประจำวัน
    • 85% ทำการค้นคว้าข้อมูลสินค้าและบริการอย่างละเอียด
  3. ค่านิยมด้านความเรียบง่ายและการมีส่วนร่วม
    • 89% ต้องการวิธีการที่ลดความซับซ้อนในชีวิต
    • 74% เลือกซื้อจากแบรนด์ที่ไว้วางใจ

พฤติกรรมการช้อปปิ้งของ Wellness Enthusiasts

  • ออนไลน์:
    • ชอบอ่านรีวิว เปรียบเทียบข้อมูล และรับข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของสินค้า
    • ปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อออนไลน์:
      • ความสะดวกในการจัดส่ง
      • การแสดงข้อมูลสินค้าและเปรียบเทียบ
      • ราคาที่คุ้มค่า
  • ออฟไลน์:
    • มองหาการทดลองสินค้า หรือสัมผัสประสบการณ์จริงในร้านค้า
    • ให้ความสำคัญกับสถานที่ตั้งและความน่าเชื่อถือของร้าน

แรงจูงใจและค่านิยม

  1. พฤติกรรมที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม:
    • ลดการใช้พลังงาน
    • ลดขยะอาหาร และพลาสติก
    • มุ่งเน้นการรีไซเคิล
  2. ความต้องการสินค้าเพื่อสุขภาพ:
    • เน้นส่วนผสมที่ดีต่อสุขภาพและเป็นธรรมชาติ
    • ให้ความสำคัญกับข้อมูลสินค้า เช่น การปรับปรุงสูตรผลิตภัณฑ์

กลยุทธ์การเข้าถึง Wellness Enthusiasts

  1. นำเสนอสินค้าและบริการที่สนับสนุนสุขภาพแบบองค์รวม:
    • ผลิตภัณฑ์ลดความเครียด โภชนาการสมดุล และการออกกำลังกาย
  2. โปรโมทความโปร่งใสและข้อมูลที่ชัดเจน:
    • ใช้ฉลากที่เข้าใจง่ายและรีวิวจากลูกค้าจริง
  3. สนับสนุนความก้าวหน้าในผลิตภัณฑ์:
    • นำเสนอการพัฒนาสูตรหรือคุณสมบัติใหม่ ๆ ที่ช่วยเสริมสุขภาพ

สรุปภาพ รวมของ Customer Type in Thailand ในรายงานดังกล่าวเห็นว่า การสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดในการเข้าถึงลูกค้าในปัจจุบันต้องทำการบ้านเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้สร้างความไว้วางใจจากลูกค้า ไม่ว่าจะด้วยรีวิวจากผู้ใช้จริง มอบประสบการณ์การช้อปปิ้งที่ตรงกลุ่ม และเล่าเรื่องราวของแบรนด์อย่างจริงใจ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีให้สอดคล้องกับผู้บริโภค โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นหลักด้วย

รายงานฉบับเต็มสามารถซื้อได้ที่ Euro Monitor

ราคาประมาณ 1,475 USD ตาม Link นี้

ถ้าต้องการสำเนาของรายงานนี้ ขอค่าอาหารแมวและเงินไปทำบุญ 1,500 บาท

พี่อ้วนสายมู

สนับสนุนโดย Carebeauwellness.com

สนใจอยากใช้ Social Listening เริ่มต้น 3,000 บาท ต่อเดือน

Link : https://idea2mobile.com/2018/wisesight_2.php

คนสนใจอยากจะทดลองใช้สอนฟรี โดยพี่อ้วน สายมู www.idea2mobile.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่
พี่อ้วนสายมู
www.idea2mobile.com
wisesight zocial eye trainner
Call : 0863863896