จากบทความเก่าประสบการณ์ในการทำ E-commerce ให้กับองค์กรขนาดใหญ่ http://onlinemedia.idea2mobile.com/index.php/archives/1065 ที่ได้เขียนไปก่อนหน้านั้นแล้ว บวกกับระยะเวลาหลาย ๆ เดือนที่ผ่านมา ได้มีโอกาสนำเสนอกับผู้บริหารระดับสูงหลาย ๆ องค์กร ในการนำระบบ E-commerce เข้าไปเกี่ยวข้องกับระบบเก่าที่มีอยู่ และผลลัพท์ ณ ปัจจุบันจะมีปัญหาใหญ่ ๆ อยู่หลายกรณี ที่องค์กร ไม่สามารถตัดสินใจเปลี่ยนมาใช้ เหตุผล 1 ข้อ ในนั้นคือเรื่องของ Budget การลงทุนกับผลตอบแทนของการลงทุน (ROI) Return on investment ถามว่า Budget จะเป็นตัวชี้นำที่ลูกค้าในการตัดสินใจไม่กล้าเปลียนนั้น ประมาณ 90 % ที่ตัดสินใจว่า ไม่กล้าลงทุน
มีอะไรบ้างที่ลูกค้าต้องลงทุนในการเปลี่ยนระบบ
1. Server ( เป็นอุปกรณ์ Hardware มีการใช้งานในประกัน 3 ปี ราคาต่อตัวเครื่องประมาณ 80,000 – 100,000 บาท)
2. IDC ( Internet Data Center) หรือเรียกอีกอย่างที่วาง Server กับผู้ให้บริการราคาต่อเดือนประมาณ 4-5 พันบาทต่อเดือน)
2.1. Admin ที่มาดูแล เครื่อง Server ถ้าเครื่องทำงานดับ Down Server ค่าใช้จ่ายก็อยู่ประมาณ 6- 8 พันบาทต่อเดือน
3. Software OS ( Software ที่ลงในเครื่อง ถ้าเป็นค่าย Microsoft กับจะต้องมี License Window server กับ Database Server อีกประมาณ 80,000 – 100,000 บาท) แต่ถ้าเป็น Software Linux กับ Mysql ที่เป็นอีกค่ายจะ Free ส่วนใหญ่ บริษัทฯที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มักจะไม่ใช้ตัวนี้ จะเน้นไปทาง Microsoft มากกว่า ซึ่งการพัฒนาในส่วนของ Microsoft E-commerce ค่าใช้จ่ายก็จะสูงตามไปด้วย
เหตุผล 3 ข้อ ยังไม่ได้เริ่มทำระบบ E-commerce คือ ค่าใช้จ่ายที่ลูกค้าจะต้องเสียทั้งหมดสำหรับการเข้าสู่ระบบ E-commerce
4. Applications E-commerce Platform ยังประกอบไปด้วยค่าใช้จ่าย
4.1. Design & Template และลูกเล่นบนหน้า Website ที่อาจจะเป็น Flash เพื่อดึงดูดความสวยงาม ซึ่งค่า Design ที่คิดกับลูกค้านั้นก็ต้องบวกค่า Creative เพื่อให้เป็นไปในตาม Brand Perception ของทางลูกค้า ค่าใช้จ่ายโดยส่วนใหญ่ก็ประมาณ 150,000 – 200,000 บาท
4.2. Coding Platform หรือเรียกอีกอย่างว่าการเขียน Program ให้รองรับการในการใช้ระบบ E-commerce และ ตัดการชำระเงินได้ทั้งหมดตาม Plate form E-commerce ที่ให้บริการตามเป้าหมายที่วางไว้
5. Maintenance Systems หลังจากที่พัฒนาส่งมอบระบบ E-commerce ให้ลูกค้าแล้วน้ันการบำรุงรักษาค่า software ก็ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นอยู่โดยจะต้องเสียในสัดส่วน 15 – 20% จากราคา applications ที่ได้จัดจ้าง และ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ กรณี มีการเปลียน Change Requirement
ค่าใช้จ่าย Budget ที่ลงทุนต่อการทำระบบ E-c0mmerce ระบบใหญ่ ๆ ต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 1 ล้านขึ้นไปเกือบทั้งหมด
ในฐานะที่ผมเป็น Sales การไปพบลูกค้าแต่ละครั้ง มันเหนื่อยมากในการ Research และ การหาข้อมูล ซึ่งถ้าลูกค้า say No เท่ากับ 0
ประเด็นมันก็เลยมาหารือกัน รวมถึงได้แนวทางกับผู้บริหารว่าทางออกมันคืออะไร สำหรับ Win & Win ในครั้งนี้
1. ลูกค้าขายสินค้า เราลงทุนระบบ เก็บค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง จะดีไหม ? (ค่าใช้จ่ายตามเดือน)
2. ลดราคา applications แล้วมา Host ไว้ที่ server เรา ? แต่ต้องจ่ายเงินก้อนทั้งหมด
ผลก็เลยมาปรากฏเป็นข้อที่ 1 คือ เราจะลงทุนระบบทั้งหมดทั้งค่า Server และ License Software E-commerce ที่พัฒนาแล้ว โดยมีเงื่อนไขที่ต้องเรียกเก็บกับลูกค้าในลักษณะให้ลูกค้าอยู่ได้เราอยู่ได้ดังนี้
1. ค่า Design Template ซึ่งให้เป็นไปตาม Brand Perception นั้น ตาม Man Day ที่เกิดขึ้นจริง
2. ค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่เรียกเก็บ ประมาณ ……… ? ซึ่งต้องดูว่าสินค้าที่ใช้บนระบบนั้นมีมากน้อยขนาดไหน
3. ค่าใช้จ่ายทางด้าน Traffic Variance ซึ่งถ้า Website นี้ มี Traffic มากก็ส่งผลต่อยอดขายของบริษัท ฯ ก็จะมากขึ้นด้วยเป็นเงาตามตัว
4. กรณี Change Requirement ก็จะเก็บเพิ่มเข้าไปแต่อาจจะเป็นรายเดือนที่บวกเพิ่ม
น่าจะเป็นทางออกอีก 1 ทางสำหรับการปรับตัวหรือเปลียนเข้าสู่ระบบ E-commerce สำหรับองค์กรขนาดใหญ่
นายอนันตชัย อิทธิวรพงศ์
Tel : 0866188111
Emails address : anantachai@idea2mobile.com