รู้จักกับใบอนุญาต การจับรางวัลไม่ว่าจะเป็น SMS Marketing หรือ แบบ Ramdom ในการเสี่ยงโชค

รู้จักกับใบอนุญาต การจับรางวัลไม่ว่าจะเป็น SMS Marketing หรือ แบบ Ramdom ในการเสี่ยงโชค

ในแผนก Marketing  การจัดกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นการสุ่มโดยระบบ SMS หรือว่า การจับฉลากชิงรางวัล โดยผู้ซื้อต้องมีการซื้อสินค้าและบริการอย่างใดอย่างหนึ่่งในการหวังรางวัลใหญ่ ผู้จัดกิจกรรมจะต้องมีการขออนุญาต มิเช่นนั้นแล้วจะเข้าข่ายการพนันตามกระบวนกฏหมาย พ.ร.บ. มาตรา 4 ทวิ  และ มาตรา 8 ว่าด้วยการพนัน พ.ศ. 2522 กระทรวงมหาดไทย  มีโทษปรับ 30,000 บาท   จำคุกไม่เกิน 3 เดือน

กฏหมายห้ามของการใช้ ระบบ SMS แบบจับรางวัล
กฏหมายห้ามของการใช้ ระบบ SMS แบบจับรางวัล

 

กฏหมายห้ามเรื่องการจับรางวัล
กฏหมายห้ามเรื่องการจับรางวัล

****กระทรวงมหาดไทย กับกฏข้อบังคับ*** กรณีใช้ SMS Marketing ในการจับรางวัล

ทำไมจึงต้องขออนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมาย ?
ประเด็นความผิดกฎหมาย ของการใช้ SMS เข้าข่ายความผิดใน พ.ร.บ. มาตรา 4 ทวิ และ มาตรา 8 ว่าด้วยการพนัน พ.ศ. 2522 กระทรวงมหาดไทย มีโทษปรับ 30,000 บาท จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ” ว่าด้วย การส่ง SMS เพื่อให้รางวัลสิ่งตอบแทนในการทายผล หรือ การทายผลอย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่มีสิ่งตอบแทน ต้องได้รับการ อนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่”

กรณีไม่ได้ใช้ SMS (Short Message Service) เข้าร่วมกิจกรรม แต่ได้จัดกิจกรรมในลักษณะส่งชิงโชค โดยให้ผู้บริโภคได้ทำการซื้อสินค้า,หรือ จ่ายค่าสินค้าและบริการ บางส่วนโดยใช้ชิ้นส่วนสินค้าและบริการ นำมาจับรางวัลเพื่อให้ได้รับสิ่งตอบแทนจากกิจกรรมที่จัดขึ้นในอนาคต ต้องได้รับการอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่”

 กรณีไม่ได้ใช้ SMS (Short Message Service) เข้าร่วมกิจกรรม แต่ได้จัดกิจกรรมในลักษณะส่งชิงโชค โดยให้ผู้บริโภคได้ทำการซื้อสินค้า,หรือ จ่ายค่าสินค้าและบริการ บางส่วนโดยใช้ชิ้นส่วนสินค้าและบริการ นำมาจับรางวัลเพื่อให้ได้รับสิ่งตอบแทนจากกิจกรรมที่จัดขึ้นในอนาคต ต้องได้รับการอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่” (ใบอนุญาต ตามตัวอย่างข้างบน)

***สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค ตีความและให้ความเห็น***** กรณีการใช้ SMS “โดยไม่ต้องขออนุญาต”

” กรณีที่ผู้จัดรายการวิทยุโทรทัศน์หรือวิทยุกระจายเสียง ที่มีการโฆษณาเชิญชวนให้ประชาชนส่งข้อความ SMS ร่วมรายการ เสนอความคิดเห็น ร่วมโหวตหรือลงมติโดยไม่มีของรางวัลให้ผู้ส่งข้อความ SMS ถือว่าไม่เป็นการโฆษณาฝ่าฝืน พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522″

รวมถึงการจัดกิจกรรรมแจกสินค้าและบริการโดยแจกสินค้าตัวอย่างพร้อมกับสินค้าและบริการที่ซื้อให้กับผู้บริโภคทั้งหมดไม่ต้องขออนุญาต โดยไม่มีการสุ่มแจก ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์การส่งเสริมประชาสัมพันธ์ทางการขาย

กรณีการใช้ SMS Marketing แบบแจกของรางวัลให้ผู้ส่งข้อความ “โดยไม่ต้องขออนุญาต”

” การใช้ SMS แบบแจกของรางวัล โดยไม่ต้องขออนุญาต สามารถทำได้ แต่ต้องเป็นการให้รางวัลหรือของแถมแก่ทุกคนที่ส่งข้อความเข้ามา โดยไม่มีการสุ่มแจก ” ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะเข้าข่ายโฆษณาส่งเสริมการขาย ซึ่งตามกฎกระทรวงฉบับที่ 5 พ.ศ.2534 ตาม พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค แต่ต้องมีรายการระบุไว้ดังนี้

1. หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขหรือ กำหนดในการให้ของแถมหรือประโยชน์
2. วัน เดือน ปี ที่เริ่มต้นและสิ้นสุดของการจัดให้มีการแถมหรือสิทธิหรือประโยชน์
3. ประเภท ลักษณะและมูลค่าของแถม สิทธิประโยชน์แต่ละสิ่งหรือมูลค่ารวมในแต่ละประเภทเว้นแต่ของแถมหรือสิทธิประโยชน์ นั่นเป็นสิ่งมีมูลค่าที่ผู้บริโภคอาจทราบได้โดยทั่วไป จะไม่ระบุมูลค่าก็ได้
4. เขตหรือถิ่นที่จัดให้มีการให้ของแถม ให้สิทธิประโยชน์โดยให้เปล่า แต่เป็นการจัดให้มีขึ้นทั่วราชอาณาจักร
5. สถานที่ที่กำหนดให้ผู้บริโภคมารับของแถม หรือ สิทธิประโยชน์โดยได้เปล่า

จากเอกสารหน่วยงานราชการ ด่วนที่สุด กระทรวงมหาดไทย ที่ มท.0307.2/ว.2384 ลว. 28 ก.ค.2548

กระทรวงมหาดไทยขอออกหลักเกณฑ์ สำหรับผู้ประกอบการ ที่มีการเชิญชวนให้ประชาชนผู้ชมและผู้ฟังรายการส่งข้อความ SMS หรือส่งข้อความทางโทรศัพท์ผ่านระบบหมายเลขต่าง ๆในการทายผล ตอบปัญหา และแสดงความคิดเห็น เพื่อชิงรางวัลซึ่งเป็นการเสี่ยงโชคได้รับของรางวัลเฉพาะผู้ส่งข้อความบางราย หรือได้รับของรางวัลไม่เท่ากันทุกรายนั้น ต้องดำเนินการขออนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตก่อนจึงกระทำได้ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัตการพนัน พุทธศักราช 2478 แต่หากการจัดดังกล่าวมีเจตนาเพื่อหารายได้จากส่วนแบ่งผลประโยชน์จากการส่งข้อความ SMS ฯลฯ แล้วหรือ เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตพิจารณาแล้วเห็นได้ว่ามีการแบ่งผลประโยชน์จากค่าบริการส่งข้อความ SMS แล้วไม่ว่าอัตราส่วนเท่าไร ก็จะไม่เป็นการแถมพกหรือรางวัลด้วยการเสี่ยงโชคและไม่สามารถอนุญาตได้ตามมาตรา 8 อีกทั้งไม่สามารถออกใบอนุญาตเล่นการพนันตามมาตรา 4 ได้ เนื่องจาก ไม่มีระบไว้ในกฎกระทรวงตามมาตรา 4 ทวิ แห่งพระราชบัญญัตการพนัน พุทธศักราช 2478 ดังนั้น เพื่อให้พนักงานผู้ออกใบอนุญาตได้พิจารณาออกใบอนุญาตให้มีการเล่นดังกล่าวเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการพนันพุทธศักราช
2478

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงวางระเบียบ ขอบเขต วิธีการรูปแบบ การเล่นดังนี้ ให้รวมถึงการใช้วิธีการส่งข้อความ SMS หรือทางโทรศัพท์ผ่านระบบเลขหมายต่าง ๆ (เช่น 1900-xxx-xxx) หรือวิธีการอื่นใดที่มีลักษณะคล้ายกันในการทายผลตอบปัญหา และแสดงความคิดเห็นเพื่อชิงรางวัลดังนี้

หลักเกณฑ์การให้สำนักทนายความ ขอใบอนุญาตมีดังนี้

1. ต้องแจ้งให้ผู้ดำเนินเรื่องการขออนุญาต ทราบก่อนล่วงหน้า 20 วันทำการก่อนจัดกิจกรรม รายละเอียดในการเล่นทั้งหมด ตั้งแต่วิธีการเล่นเกณฑ์การ ตัดสิน ประเภทของรางวัล คณะกรรมการ กำหนดวันจับฉลาก การประกาศผลผู้โชคดี

2. เจ้าของสินค้าผลิตภัณฑ์ ต้องจัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ให้พร้อมได้แก่ สำเนาหนังสือการจดทะเบียนบริษัท, สำเนาบัตรประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้รับมอบอำนาจ, หนังสือมอบอำนาจ,หนังสืออนุมัติโครงการเล่นกิจกรรมดังกล่าว

3. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินขอใบอนุญาต ทางเจ้าของผลิตภัณฑ์ สินค้าจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด โดยผู้ดำเนินเรื่องการขออนุญาตจะทำการ เบิกจ่ายเงินภายใน 7 วันทำการ ก่อนได้รับใบอนุญาต

4. Media Advertising ในการลงโฆษณา เป็นเอกสารแนบในการขอใบอนุญาตค่าธรรมเนียมใบอนุญาต กทม พร้อมจับรางวัล

การขอใบอนุญาต ส่วนใหญ่ (หาข้อมูลยังน้อยอยู่ต้องจ้าง Agency ที่พอมีเส้นสาย ) จากตัวอย่างใบอนุญาตข้างบน ทาง office ก็ใช้ Agency มีการทอดต่อกันหลายแห่ง เลยไม่ทราบว่าใครเป็นคนขอให้ มีแต่ผู้รับมอบอำนาจ ไว้มีข้อมูลจะมาแจ้งให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง

Webmaster
Anantachai Ittiworapong

099-260-8859

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *