เมื่อบอกถึงการใช้งานของ Social Listening จะมีมุมมองการใช้งานในแต่ละองค์กรด้วยกันหลายอย่างแต่เมื่อมาดู Research จาก https://www.forrester.com นั้นจะเห็นว่าการใช้ Social Data หลัก ๆ จะไปที่ Brand Intelligence , Customer Insight , Competitive Intelligence, และ ต่อด้วย Campaign Intelligence หรือการดูแคมเปญสื่่อโฆษณา ก่อน และหลังจบลง จึงอยากจะลองทำ Case Study แบบไล่ทีละ Step ของการเก็บข้อมูลด้วย Social Listening ว่าจะทำอย่างไร?
Source: forrester.com
จาก Brand Intelligence เลยขอเป็นวิธีจัดทำด้วย Style ของตัวเอง โดยเป็นการวัด Brand Performance จากตัวอย่างจริงของ Brand นึงในประเทศไทย
Case Study ใช้วัดจริง ๆ จะใช้ตรวจสอบ หรือ ดูความฉลาด , ความแข็งแรงของ Brand อะไรได้บ้าง
Brand Performance
ขอแบ่งการวัด Brand Performance ออกมาด้วยกัน 3 หัวข้อใหญ่ ๆ และ หัวข้อย่อย ๆ
1. Brands Performance :
Brands Awareness : แบรนด์ทำสื่อโฆษณาออนไลน์เอง
Brands Monitor Campaign : ติดตามแคมเปญสื่อโฆษณา
Influencer Marketing : การตลาดว่าจ้างสื่อ Media ต่าง ๆ
Brand VS Competitor analysis
Brand benchmark VS: Keywords คำตลาด
2. Brands Communications :
Groups Segmentation :
Contextual Marketing & Contents Communications :
Media Suggestions by Group :
Mood & Tone for communication
3.Opportunity for the target group
Customer behavior by Group Segmentation
ทั้ง 3 หมวดหลักใหญ่ คือ สิ่งที่นำ Social Data มาช่วยวิเคราะห์เพิ่มเติม และ ได้ การสื่อสารที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจนมากขึ้น หรือการทำ Contextural Marketing แบบเข้าถึงรายคน
Case Study การใช้ Social Data กับ สินค้าข้าวตัง
Brand Awareness (Brand เจ้าสัว)
First Party Data ซึ่งทาง Brand ของสินค้าเองนั้นสามารถเข้าไปดู Insight ตาม Platform ของ Social Data ที่ทำการตลาดอยู่ได้ แต่ส่วนใหญ่เท่าที่เจอ Brands มักจะไม่เก็บ Data ที่มีให้บริการอยู่ เป็นสิ่งที่น่าเสียดาย Social Listening มันก็ช่วยได้ในระดับนึงคือ นำ Performace ที่ Brands Post จับวัด engagement แล้วดู Performace ต่อ Post ว่า ต่อ Post นั้นคนเข้าถึงเท่าไหร่ ?
Link : https://datastudio.google.com/reporting/5afd7a71-4a0b-47e2-aada-fe220af56bde
Brand Monitor Campaign
การทำข่าว PR ออกข่าวสินค้าที่เพิ่งออกตลาดไป ถ้าเป็นสื่อเมื่อก่อน การวัด Above the Line ข่าวของ PR ตีเป็นมูลค่าเงินเท่าไหร่ ออกไปจำนวนกี่ข่าว
Influencer Marketing : การตลาดว่าจ้างสื่อ Media ต่าง ๆ
Brands ว่าจ้าง Influencer สื่อช่องทางต่าง ๆ การดูภาพรวมของสื่อที่เข้าไปกับกลุ่ม Fanpage มีผลต่อสินค้าที่ได้ว่าจ้างไปมากน้อยขนาดไหน การใช้ Tool นี้ ช่วยดูภาพรวมได้อย่างรวดเร็ว
Brand VS Competitor analysis
หลักการง่าย ๆ ก็จะเหมือนกับ การ ใช้ First Party ของ Brands แต่ ในกรณีนี้คือเราไม่สามารถเข้าไปดูข้อมูล Insight ของคู่แข่งได้ จึงจำเป็นต้องใช้ Social Listening ในการเก็บข้อมูลออกมาเพื่อดู Performance
Brand benchmark VS: Keywords คำตลาด
แบ่งออกมาเป็นการเข้าถึงของคนที่อยู่บนโลกออนไลน์กับ สินค้าและบริการที่ขายออกมาในท้องตลาด
ระดับที่ 1: ผู้บริโภคไม่รับรู้ในตราสินค้าเลย (Unaware of Brand)
ระดับที่ 2: ผู้บริโภคจดจำตราสินค้าได้ (Brand Recognition)
ระดับที่ 3: ผู้บริโภคระลึกในตราสินค้าได้ (Brand Recall)
ระดับที่ 4: ผู้บริโภคยกให้ตราสินค้าเป็นที่หนึ่งในใจ (Top of Mind)
ต้องยอมรับว่าคำตลาดเช่น ข้าวตัง เป็นคำใหญ่ มักจะเจอได้หลากหลายรูปแบบ และ สินค้าหลาย Brands จะเจอใน ออนไลน์มากที่สุด
ที่นี้ก็ต้องมาหาต่อว่า Brand / Product ที่เราเจอกับคำว่าข้าวตัง มีด้วยกัน เป็นจำนวนเท่าไหร่ แล้วก็ต้องมาดูภาพรวมต่อว่า
- สินค้าอะไรที่คนส่วนใหญ่รู้จัก จากภาพรวมทั้งหมด
- คนที่ชอบสินค้านี้จาก Post ไหน เป็น Post ตั้งต้น
- Brands อะไรที่คนส่วนใหญ่รู้จัก
- คนที่ด่ามากที่สุดเป็นสินค้าอะไร
- คนที่ชอบหรือว่าตินุ่นตินี่ หรือ ให้คำแนะนำอะไร
เขียนมาซะยาวนี่แค่หมวดเดียวนะ ยังไม่ได้จับกลุ่ม Segmentations ของ บริบทที่พูดถึงในโลกออนไลน์เลย ไว้จะมาเล่าในหมวดที่สองต่อไป
สำหรับคนที่สนใจในการวิเคราะห์ Social Data Report สามารถดูบริการได้ใน Website www.idea2mobile.com ได้นะครับ
พี่อ้วนสายมู