หนึ่งในไฮไลต์งาน The Secret Sauce Summit 2024 คือ “Ride The 2025 Marketing Wave: ทะยานสู่อนาคตการตลาด 2025” โดยคุณอรรถวุฒิ เวศรานุรักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อะแด็ปเตอร์ ดิจิตอล กรุ๊ป ได้ฉายภาพ 10 เทรนด์การตลาด สรุปดังนี้
1. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรและ Generation (The Major Shift of Population & Generation)
– ประเทศไทยมีประชากร 71.6 ล้านคน อายุเฉลี่ย 40.1 ปี (ปี 2024) สะท้อนว่าโครงสร้างประชากรไทยอยู่ในสถานการณ์ประชากรสูงอายุเพิ่มสูงขึ้น
– คาดการณ์ว่าปี 2025 ประชากร 25% จะเป็นกลุ่ม Silver Generation และเพิ่มขึ้นเป็น 30% ในปี 2030
นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงของ Generation พบว่า- Gen Z: ค่านิยมของผู้บริโภคกลุ่มนี้เปลี่ยนไป เรียกว่า “Situationship” นิยมใช้ Text ในการติดต่อสื่อสาร และในการ Engagement สำหรับผู้บริโภคกลุ่มนี้ ไม่มีคำว่ารักที่ยืนยาว
ปัจจุบัน Gen Z เข้าสู่วัยทำงานมากขึ้น คนกลุ่มนี้ให้ Value กับสิ่งที่เขาควรได้รับทันที เพราะฉะนั้นคนทำงานกลุ่มนี้ คาดหวังการได้เงินเดือนขึ้น และ Recognition ในการทำงานกับการที่ได้รับสิงที่เขาควรได้นั่นคือ Gen Z ไม่มีคำว่ารักที่ยืนยาว และปัจจุบัน
– Gen Millennials: ให้คำวามสำคัญกับ Quality สูงมากเมื่อเทียบกับผู้บริโภค Gen อื่นๆ และสนใจสินค้า Premiumization ดังนั้นจึงยอมจ่ายเพิ่มขึ้น เพื่อให้ได้สินค้า-บริการคุณภาพดี จึงสนใจ Premiumization
– Gen Alpha: เป็นรุ่นลูกของ Gen Millennials และมีอิทธิพล (Influence) กับครอบครัว นอกจากนี้ด้วยความที่ผู้บริโภคกลุ่มนี้ยังอยุ่ในวัยเด็ก จึงยังไม่มีแบรนด์ใดๆ ในหัวเขา ดังนั้นปัจจุบันพบว่าหลายแบรนด์ในโลก หันมาขยายกลุ่มสินค้าสำหรับ Kids โดยเฉพาะ เพื่อดึงดูดทั้ง Gen Alpha และ Gen Millennials
– Silver Generation: ผู้บริโภคกลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับ Health & Longevity Enjoyment และเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อ
2. แบรนด์ดิ้งยุคศตวรรษที่ 21 ต้องเข้าใจ Culture & Equity (Branding in 21st Century
“Cultural & Equity”): การเปล่ยนแปลงของโครงสร้าง Culture 2.0 ซึ่งเป็น Mass Culture ไปสู่ “Culture 3.0” นั่นคือ Fragmentation, Micro Community, Sub-culture และเป็น Fluid Community มากขึ้น จะกลายเป็น New Engine ของแบรนด์ดิ้ง ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงจาก Insight-driven ไปสู่ “Culture-driven”
เหตุผลที่นักการตลาดควรให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์ ซึ่งสามารถแบ่งแบรนด์เป็น 3 กลุ่ม ซึ่งแต่ละ Life Stage ของแบรนด์ดิ้งต้องการกลยุทธ์ที่แตกต่างกัน คือ- แบรนด์ที่อยู่มานาน ต้องการสร้างแบรนด์ให้ Modernization – แบรนด์หน้าใหม่ ต้องการขยายเป็น Mass มากขึ้น และทำให้แบรนด์แข็งแรงขึ้น- แบรนด์เกิดใหม่ ต้องการสร้างแบรนด์ให้แจ้งเกิด
ผู้บริโภคแต่ละ Generation สนใจแบรนด์แตกต่างกัน คือ
– Gen Z: สนใจแบรนด์ที่มีภาพลักษณ์ทันสมัย สดใหม่ และเข้าถึงได้
– Gen Y: สนใจอินเตอร์แบรนด์ และให้ความสำคัญกับคุณภาพดี
– Gen X: สนใจแบรนด์ที่มีชื่อเสียงยาวนาน และเป็นแบรนด์ที่เข้าถึงได้ ขณะที่ “Brand Equity” เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ซึ่ง Brand Equity คือ การสร้าง Value หรือคุณค่าให้กับแบรนด์ที่ไม่ใช่แค่ภาพลักษณ์แบรนด์ แต่ต้องส่งผลต่อการขาย หรือยอดขาย
โดย 5 องค์ประกอบของ Brand Value ได้แก่ Trust / Protection / Preference / Expansion / Perception
3. การตลาดสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันด้วยความเข้าใจ Customer Insight
(Leveraging Real Marketing Value Competitive Advantage): สร้างการเติบโตและความได้เปรียบทางการแข่งขันผ่านกลยุทธ์ Customer Insight Marketing
โดยเริ่มจากเข้าใจ Customer Insight ว่าอะไรเป็นแรงกระตุ้น หรือผลักดันให้ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้า หรือใช้แบรนด์เรา จากนั้นต้องทำให้ทุกแผนกเข้าใจใน Customer Insight จากที่ผ่านมาแผนกที่เข้าใจ Customer Insight มักอยู่แผนกการตลาด จากนั้นถึงจะพัฒนาเป็นกลยุทธ์ เพื่อทำให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเอาชนะการแข่งขันได้
ศาสตร์การเอา Customer Insight มาใช้ อย่ากระโดดไปที่ Creativity แต่ให้เริ่มจาก “ตั้งคำถามที่ใช่” ก่อน ประกอบด้วย 5 ด้านได้แก่
1. คำถามเชิงสืบสวน
2. คำถามเชิงคาดการณ์
3. คำถามว่าต่อไปนี้จะทำอย่างไรดี
4. คำถามการตีความ แล้วอย่างไรต่อ
5. คำถามอะไรคือสิ่งที่ไม่ได้พูดออกมา
5. สร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำในใจผู้บริโภค (Mastering Modern Media in the Memory Attention Era)
ในยุคที่ไม่มีความแตกต่าง และทุกอย่างแทบจะเหมือนกันหมด แบรนด์ควรให้ความสำคัญกับการสร้าง Memory Attention ประกอบด้วย
– Repetition: ทำให้ผู้บริโภคเห็นบ่อยๆ เพื่อสร้างการจดจำได้
– Association เมื่อผู้บริโภคเห็นแบรนด์แล้ว ทำให้สามารถเชื่อมโยงกับข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์นั้นๆ ได้
– Novelty สร้างสิ่งใหม่ที่ว้าวมากๆ
– Emotional Resonance สร้างความรู้สึก สร้างอารมณ์มิติเชิงลึกให้กับผู้บริโภค
6. กลยุทธ์ Social Media ในยุคคอนเทนต์ล้นหลาม (Social Media Strategies for Success Adaptive Engagement):
– ใช้หลัก Pareto Principle “80/20” คือ ใส่ Effort 20% แต่สามารถสร้างผลลัพ์ที่ดีต่อให้กับแบรนด์ได้ถึง 80%
ดังนั้นนักการตลาดต้องโฟกัส Creativity, คอนเทนต์ที่สามารถสร้าง performance ให้กับแบรนด์ได้ (High Performing Content)
7. นำเทคโนโลยี AI และ Agentic AI ผสานการทำงาน (Embracing Next Phase Change AI & Agentic Future)
ปัจจุบันพบว่าหลายแบรนด์ทั่วโลกนำ AI มาใช้ตอบโจทย์ทั้งด้านการลดต้นทุน, ด้าน Scale ธุรกิจและเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายได้อย่าง Personalization
นอกจาก AI แล้ว ยังมีเทรนด์ “Agentic AI” คือ เมื่อผู้ใช้ prompt หรือป้อนคำสั่งเข้าไป AI ไม่ได้เพียงแค่ตอบคำสั่ง หรือโจทย์ที่ป้อนเข้าไปเท่านั้น แต่ยังได้เชื่อมโยงและคิดต่อในส่วนอื่นๆ ได้ครบลูปของกระบวนการทางการตลาด เช่น เมื่อป้อนโจทย์เข้าไป AI สามารถจำลอง Audience มาให้ ทำ Predictive Analytics ทำกลยุทธ์ราคามาให้กับแบรนด์ และให้คำแนะนำแบรนด์ในการเปิดตัวสินค้า/บริการ ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากการป้อนคำสั่ง หรือโจทย์เดียว โดย AI สามารถคิดให้ทั้งหมดครบลูป
8. องค์กรควรสร้าง Culture of Tomorrow (A Culture of Tomorrow Experiment + Intelligence Risk – Taking)
ด้วยการตั้งสมมติฐาน + ทดลอง เพื่อลดความเสี่ยงทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้น
– Adaptive System Design: คิดเชิงโครงสร้าง เพื่อระบุความจริง เข้าใจต้นตอ เชื่อมโยงและคำนึงถึงบริบทที่กว้างขึ้น
– Thought Experiment: ถ้าไม่มีข้อจำกัดเหล่านี้ จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง มีวิธีการที่ได้ผลลัพธ์ดีกว่านี้ไหม
– Activate System 2: มนุษย์ถูกดีไซน์ให้ทำตามวิถีเดิมๆ เราต้องออกจากกรอบความคิดนี้ให้ได้
– Magic of Thinking Big: จินตนาการของมนุษย์ จะช่วยให้ขยายกรอบของความเป็นไปได้ให้ใหญ่ขึ้น
9. สร้าง Effectiveness (Embed Effectiveness Culture Across Organization): แนะนำให้ใช้โมเดล “MMM” (Marketing Mix Modeling)
ทำ ที่วิเคราะห์ Data ในอดีต เพื่อคาดการณ์ Impact ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
10. Sustainability เป็นหัวใจของกลยุทธ์ (Sustainability as a Core Strategy “Circular & Regenerative)
ทุกวันนี้ผู้บริโภคตระหนักถึง Sustainability และมีพฤติกรรมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แต่ยังพบว่าอุปสรรค หรือกำแพงในการเข้าถึงความยั่งยืนในมุมของผู้รบริโภค คือ “ราคา” ทำให้รู้สึกว่าเข้าถึงยาก เพราะฉะนั้นการทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนมาใช้สินค้าความยั่งยืนมากขึ้น คือ ราคา การกำหนดราคาสินค้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ถ้าบวกราคาเพิ่มประมาณ 10% คนยอมจ่าย
Source ที่มา : https://www.facebook.com/MarketingOopsdotcom
บันทึกไว้แบ่งปันประสบการณ์ไว้อ่านเอง ไม่ได้นำไปหาผลประโยชน์ทางการค้าใด ๆ
พี่อ้วนสายมู