วิเคราะห์เทรนด์อาหารกัญชาด้วย Social Listening Tool

วิเคราะห์เทรนด์อาหารกัญชาด้วย Social Listening Tool

ในที่สุดประเทศไทยก็ค่อย ๆ ก้าวสู่อีกประเทศหนึ่งที่ปลดล็อกกัญชาว่าไม่ใช่สารเสพติดที่ให้โทษ แต่ใช่ว่าจะปลดล็อกอย่างเต็มรูปแบบเหมือนหลาย ๆ ประเทศนะครับ อ้างอิงจากประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 424 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 สรุปใจความได้ว่า สามารถนำกัญชา (เฉพาะส่วน) ไปสามารถประกอบอาหารได้ จึงไม่แปลกใจครับว่าเราจะเห็นร้านอาหารหลายรายเริ่มผลิตและจัดจำหน่ายอาหารที่มีส่วนประกอบของกัญชาเป็นหลัก

ส่วนใหญ่คนบนโลกออนไลน์พูดถึงกัญชาด้วยคำอะไรมากที่สุด

หัวใจสำคัญของการใช้ Social Listening Tool คือการใช้คีย์เวิร์ดที่จะให้ระบบไปกวาดข้อมูลมาให้เราครับ ซึ่งเป็นประเด็นที่ผมเน้นย้ำแทบทุกบทความ เพราะหากเราใส่คีย์เวิร์ดไม่ดีหรือใช้คำที่กว้างมากเกินไป ข้อมูลที่ได้อาจจะไม่มีเลยหรืออาจจะมีปริมาณมากเกินไปจนทำให้เราทำงานได้ลำบากครับ

วิเคราะห์เทรนด์อาหารกัญชาด้วย Social Listening Tool
วิเคราะห์เทรนด์อาหารกัญชาด้วย Social Listening Tool

จากภาพผมได้พยายามโฟกัสประเด็นให้แคบลงมาครับ อยากให้ท่านผู้อ่านลองจินตนาการว่า หากผมใส่คำว่า “กัญชา” ลงไปเดี่ยว ๆ แน่นอนว่าข้อมูลที่ได้นั้นไม่ต้องคาดเดาให้เหนื่อยเลยครับ เราจะได้ข้อมูลที่กว้างดุจมหาสมุทรตั้งแต่นโยบายกัญชา สรรพคุณกัญชา ไปจนถึงการซื้อขายกัญชาอย่างผิดกฎหมาย ผมเลยใช้เครื่องหมายบวก (+) เพื่อให้ Mandala Analytics รู้ว่าผมต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับอาหารที่มี่ส่วนประกอบของกัญชาเป็นหลัก จึงเป็นที่มาของการใช้คีย์เวิร์ดคำว่า “อาหาร+กัญชา” “เมนู+กัญชา” และ “คาเฟ่+กัญชา” ครับ

แต่เพื่อให้การทำงานของเรานั้นง่ายขึ้นไปอีก function ในการตัดคำที่เราไม่ต้องการหรือไม่เกี่ยวข้องออกไป หรือ “excluded keywords” ที่ให้เรากำหนดตั้งแต่ตั้งแคมเปญ (campaign) ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้การทำงานยิ่งง่ายขึ้นไปอีก มาดูตัวอย่างที่ผมนำมาใช้กับบทความนี้กันครับ

วิเคราะห์เทรนด์อาหารกัญชาด้วย Social Listening Tool
วิเคราะห์เทรนด์อาหารกัญชาด้วย Social Listening Tool

ปฏิเสธไม่ได้ครับว่านโยบายกัญชาเสรีนั้นถูกหยิบยกขึ้นมาโดยคุณอนุทิน ชาญวีรกุล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ที่ได้ประกาศไว้ตอนหาเสียงเลือกตั้ง ซึ่งบทความนี้ผมไม่สนใจที่จะนำประเด็นทางการเมืองเข้ามาร่วมวิเคราะห์ด้วย จึงเลือกที่จะตัดคำที่เกี่ยวข้องออกไปเสียแต่เนิ่น ๆ โดยคำที่ผมตัดออกนั้นมีตั้งแต่คำที่ใช้ทางการได้แก่ “อนุทิน” “ภูมิใจไทย” และคำที่ใช้แบบไม่เป็นทางการได้แก่ “เสี่ยหนู” และ “หมอหนู” ครับ

          เมื่อเรามั่นใจแล้วว่าคีย์เวิร์ดที่เราใส่ไปนั้นน่าจะได้ข้อมูลที่ค่อนข้างพึงพอใจก็กดตั้งแคมเปญได้เลยครับ แล้วปล่อยไว้ซักพักหาขนมนมเนย จิบชากาแฟ หรือจะไปทำนู่นทำนี่ฆ่าเวลาก่อนครับ ใช้เวลาไม่นานข้อมูลร้อน ๆ ก็พร้อมเสริฟให้เราใช้งานมาดูกันครับว่ามีอะไรที่น่าสนใจบ้าง

วิเคราะห์เทรนด์อาหารกัญชาด้วย Social Listening Tool
วิเคราะห์เทรนด์อาหารกัญชาด้วย Social Listening Tool

เริ่มจาก share of voice ก่อนครับ ข้อมูลที่ปรากฏนั้นผมตั้งให้ Mandala Analytics เก็บข้อมูล 1 วันก่อนที่จะมีการประกาศปลดล็อกกัญชาถึงวันที่ผมเริ่มเขียนบทความนี้ครับ หรือก็คือวันที่ 24 กุมภาพันธ์ – 25 มีนาคม พ.ศ. 2564 โดยประมาณก็ 1 เดือนครับ ข้อมูลที่ได้นั้นมีจำนวน mentions อยู่ที่ 931 และมี engagement อยู่ที่ 190,468 สำหรับผมคิดว่าไม่น้อยนะครับสำหรับข้อมูลที่ได้ เพราะนี่ก็ผ่านมาแค่เดือนเดียวเอง

จากภาพที่ผมได้ยกขึ้นมาผู้อ่านจะสังเกตครับว่า การใช้คำบนโลกออนไลน์นั้นจะเน้นหนักไปที่คำว่า “อาหาร+กัญชา” มากกว่าคำอื่น ๆ สาเหตุหนึ่งอาจเป็นผลพวงมาจากประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่อนุญาตให้นำกัญชามาประกอบเป็นอาหารได้ ทำให้หลายคนเลือกใช้คำว่า “อาหาร” เพื่อให้ถูกกฎหมาย และสื่อถึงเจตนาในการนำกัญชามาใช้ได้ตรงที่สุดครับ

อาหารจากกัญชายอดฮิต

            เราพอทราบแล้วนะครับว่ากัญชากับอาหารนั้นถูกพูดถึงมากที่สุดในโลกออนไลน์ ในส่วนนี้เราจะมาดูกันว่ากัญาชาถูกนำไปทำเป็นเมนูอาหารอะไรบ้าง จะแปลกแหวกแนวและน่าลิ้มลองขนาดไหน

          1. กะเพรากัญชา: ประเดิมด้วยเมนูอาหารสุดคลาสสิกประจำชาติครับ คิดออกบอกไม่ถูกจะกินอะไรเมนูกะเพราผมว่าคงเป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ ของใครต่อหลายคน แน่นอนว่าเมนูยอดฮิตขนาดนี้คงไม่พ้นที่จะถูกนำกัญชามาใช้เป็นส่วนประกอบเช่นกันครับ โพสต์จากเพจ “พรุ่งนี้ค่อยลด” ได้นำเสนอเมนู “กะเพราแฮปปี้” ซึ่งมีส่วนผสมของน้ำมันและใบกัญชา ใครสนใจตามรอยลิงค์ที่ผมแนบไว้ให้ได้เลยครับ

วิเคราะห์เทรนด์อาหารกัญชาด้วย Social Listening Tool
วิเคราะห์เทรนด์อาหารกัญชาด้วย Social Listening Tool

ที่มา: https://www.facebook.com/1800731413564927/posts/2533367046968023/

2. ต้มไก่บ้านใบกัญชากับลาบหมูทอด: เมนูแซ่บซี้ดขวัญใจของใครหลาย ๆ คนก็หนีไม่พ้นที่จะนำกัญชามาเป็นส่วนผสมเช่นกันครับ โดยเมนูเหล่านี้นำกัญมาใช้เพื่อชูรสชาติให้จัดจ้านและกลมกล่อมขึ้นไปอีกขั้น หรือคิดภาพง่าย ๆ ก็คือกัญชาถูกนำมาใช้เพื่อเป็นเครื่องเทศนั่นเองครับ จากที่ปกติเวลาเราทำเมนูเหล่านี้ประกอบไปด้วย ขิง ข่า ตะไคร้ เราก็เพิ่มกัญชาเพื่อมาชูโรง ใครสนใจลิ้มลองสามารถเข้าไปดูรายละเอียดลิงค์ที่แปะไว้ข้างล่างภาพได้เลยครับ

วิเคราะห์เทรนด์อาหารกัญชาด้วย Social Listening Tool
วิเคราะห์เทรนด์อาหารกัญชาด้วย Social Listening Tool

ที่มา: https://www.facebook.com/1022588091115602/posts/5761431230564574/

3. ขนมครกใบเตยกัญชา: แม้คนบนโลกออนไลน์ส่วนใหญ่จะใช้คำว่าอาหารเป็นหลัก แต่เราก็พบว่ากัญชาไม่ได้ถูกนำมาใช้ประกอบเป็นอาหารคาวเท่านั้น แต่ถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบเป็นของหวานด้วย โพสต์จากเพจ “อายุน้อยร้อยล้าน” เองก็ขานรับกับกระแสเมนูกัญชาเช่นเดียวกันครับ โดยนำเสนอเมนูขนมครกใบเตยกัญชาที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ จากแต่ก่อนเมนูขนมชนิดนี้มีกลิ่นหอมดึงดูดจากใบเตยเท่านั้น แต่ไอเดียในการนำกัญชามาใช้ยิ่งช่วยเสริมกลิ่นหอมและรสชาติให้โดดเด่นขึ้นไป สามารถไปโดนได้ตามลิงค์ที่ผมแปะไว้ได้เลยครับ

วิเคราะห์เทรนด์อาหารกัญชาด้วย Social Listening Tool
วิเคราะห์เทรนด์อาหารกัญชาด้วย Social Listening Tool

ที่มา: https://www.facebook.com/324861724225604/posts/4050490538329352/

ผลพลอยได้ของผู้ประกอบการกับการปลดล็อกกัญชา

            นอกจากการปรับเปลี่ยนเมนูอาหารทั้งคาวและหวานที่ใช้กัญชามาเป็นส่วนผสมแล้ว เรายังเห็นผู้ประกอบการหลายรายใช้โอกาสตรงนี้มาเป็นโอกาสทางธุรกิจ มาดูกันครับว่ามีอะไรที่น่าสนใจบ้าง

1. แฟรนไชส์เครื่องดื่มกัญชา: การปรับตัวประเด็นนี้น่าสนใจมากครับว่า กลยุทธ์เช่นนี้เป็นการขยายฐานลูกค้าให้ผู้บริโภคหลายรายได้ลิ้มลองรสชาติเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมจากกัญชา เพราะจากเมนูอาหารคาวที่ผมได้นำเสนอไปข้างต้นจะพบว่า เราต้องใช้เวลาเดินทางพอสมควรครับกว่าจะได้ไปลิ้มชิมรสถึงที่ แต่ความหัวใสของคาเฟ่ ชากัญ กำลังทำให้เครื่องดื่มกัญชาเป็นสินค้าบริโภคที่ทุกคนกำลังจะเข้าถึงได้โดยง่ายในอนาคต และผมคาดว่าเราอาจจะเห็นแฟรนไชส์อาหารคาว-หวานจากกัญชาที่จะวางขายตามห้างสรรพสินค้า หรือตลาดใกล้บ้านท่านแน่นอนครับ

วิเคราะห์เทรนด์อาหารกัญชาด้วย Social Listening Tool
วิเคราะห์เทรนด์อาหารกัญชาด้วย Social Listening Tool

ที่มา: https://www.facebook.com/478890372318431/posts/1640238449516945/

2. เพิ่มมูลค่าสินค้า: ประเด็นนี้สืบเนื่องมาจากสิ่งที่ผมได้นำเสนอมาแล้วครับว่า การนำกัญชามาเป็นส่วนผสมนั้นสามารถดีดราคาสินค้าและบริการให้เพิ่มขึ้นไปอีก เอาตัวอย่างจากกะเพรากัญชาก็ได้ครับว่า ปกติกะเพราราดข้าว+ไข่ดาว ปกติเราจ่ายกันอยู่ที่ 50 – 70 บาท (ขึ้นอยู่กับพื้นที่นะครับ) แต่การนำกัญชามาเป็นส่วนผสมนั้นจะเห็นว่า ผู้บริโภคบางส่วนยินดีที่จะจ่ายเงินหลักร้อยในการกินกะเพรา หรือกระทั่งขนมครกใบเตยที่ปกติเราเดินไปตามตลาดก็สามารถหาซื้อทานกันได้ง่าย ๆ พอเสริมด้วยกัญชาเข้าไปปรากฏว่า ขายดิบขายดี

3. ปลุกกระแสสุขภาพทางเลือกไม่พึ่งสารเคมี: ผมคิดว่าการปลดล็อกกัญชาได้ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายดึงจุดเด่นในฐานะสมุนไพรมาช่วยในการป้องกันโรคครับ แรกเริ่มผมคิดว่าเริ่มมาจากโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรที่นำเมนูกัญชามาจำหน่ายครับ แล้วหลังจากนั้นเราจะเห็นการชูสรรพคุณกัญชามาใช้เป็นจุดหลักในการดึงมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการของตนเองที่ไม่พึ่งสารเคมี

วิเคราะห์เทรนด์อาหารกัญชาด้วย Social Listening Tool
วิเคราะห์เทรนด์อาหารกัญชาด้วย Social Listening Tool

ที่มา: https://www.facebook.com/346626122184599/posts/1747290915451439/

สรุป การใช้ Social Listening Tool เพื่อดูกระแสอาหารกัญชา

            ผมคิดว่าในช่วงแรกเริ่มของการปลดล็อกกัญชาเรายังไม่เห็นการนำกัญชาไปพัฒนาเมนูทั้งคาวและหวานในรูปแบบหรือหน้าตาใหม่ ๆ เสียเท่าไหร่ เพียงแต่เป็นการนำกัญชาเป็นส่วนผสมที่ช่วยชูรสชาติและกลิ่นให้น่ารับประทานยิ่งขึ้น แต่ผมคิดว่าผลพวงของการนำมาใช้คือ การช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการนั้น ๆ ให้เพิ่มขึ้นไปจากราคาที่เราจ่ายตามปกติ และผู้บริโภคเองก็ยินดีที่จะจ่าย

          นอกจากนั้นแล้ว เรายังเริ่มเห็นเค้าลางของเมนูกัญชาที่กำลังจะแมสในเร็ววันนี้ จากการที่ผู้บริโภคบางรายขยายฐานกิจการในรูปแบบแฟรนไชส์ และชูสรรพคุณกัญชาในฐานะสมุนไพรที่ช่วยป้องกันโรค น่าสนใจครับว่ากระแสเมนูกัญชาจะเป็นอย่างไรในอนาคต แล้วเรากลับมาดูกันอีกครั้งครับว่าหลังจากปลดล็อกไปแล้วนานกว่านี้จะเป็นอย่างไร เมนูกัญชายังน่าลงทุนอยู่หรือไม่ พบกันในบทความถัดไปครับ

ขอบคุณครับ

One thought on “วิเคราะห์เทรนด์อาหารกัญชาด้วย Social Listening Tool

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *