Strategy Playbook 2024 โดย อ.ธนัย ชรินทร์สาร #theSecretSauceSummit2023

Strategy Playbook 2024 โดย อ.ธนัย ชรินทร์สาร #theSecretSauceSummit2023

Strategy Essential ทุกองค์กรมีข้อจำกัด 3 อย่าง

  1. เวลาจำกัด
  2. งบประมาณ
  3. คนทำงาน ประชากรไทยจะลดลง

ต้องมีกลยุทธ์ แต่กลยุทธ์แต่ละองค์กร ต้องสร้างเฉพาะตัว ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ธุรกิจ อุตสาหกรรมของเรา ดังนั้นจึงต้องนำสิ่งที่ได้ฟังไปวันนี้ไปตกผลึกเอง

5 เรื่องที่นักกลยุทธ์ควรโฟกัสในปี 2024

1.Long-Term Thinking เราต้องคิดระยะยาวมากขึ้น

  • แม้จะต้องวัดผลประกอบการอย่างต่อเนื่อง (ระยะสั้น) แต่ก็ต้องมองยาวมากขึ้น
    เพราะโลกเปลี่ยนเร็วขึ้น
  • สิ่งที่เราเคยทำแล้วประสบความสำเร็จ จะหมดอายุเร็วขึ้น
    เหมือนขับรถ ขับเครื่องบินด้วยความเร็วสูง ต้องจุดหมายมองไกลๆ
  • ต้องคุยกันว่า อุตสาหกรรมที่ทำอยู่ อีก 5, 10, 20 ปี จะเป็นยังไง อย่าคิดแค่ว่ามันยังมาไม่ถึง EV เป็นที่นิยมเร็วกว่าที่คาดไว้
  • ความไม่แน่นอนทำให้เราไม่กล้ามองไกลไปในอนาคต เช่น สงครามรัสเซีย ยูเครน trade war จีน อเมริกา

Foresight Framework

ใช้ Foresight Framework หมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงภายนอก สังคม เศรษฐกิจ กฎหมาย ดู trend and weak signal สัญญาณอ่อนๆ จะเป็น trend ใหญ่ต่อไป

นักศึกษาจีน มาเรียนในมหาวิทยาลัยไทยมากขึ้น weak signal นี้บอกว่า มหาวิทยาลัยไทย อาจจะเติบโตได้อีกครั้ง หากมี นศ. จีนมาเรียน
นศ. จีนบอกว่าเรียนจบป.ตรีในจีนแล้ว แต่หางานทำไม่ได้ เลยมาเรียนที่ไทย

Be Futuristic

2. Attention Economy

ตอนเริ่มเติบโตมาจาก Agricultural Economy เกษตรกรรม ความเจริญเลยอยู่ริมแม่น้ำ แต่ตอนนี้ กลายเป็น Attention Economy เพราะทุกธุรกิจ ปลายน้ำจบที่ผู้บริโภคเสมอ ผู้บริโภครับข้อมูลมากขนาดนี้ไม่ไหว มีเวลาไม่พอที่จะสนใจทุกแบรนด์ ดังนั้นแบรนด์ที่จะชนะ คือ แบรนด์ที่ได้รับความสนใจ (Attention)


เครือ Central ในอดีตมองว่า สินค้าดี วางในห้าง มีคนมาแน่นอน แต่ตอนนี้คนมีสิ่งล่อตาล่อใจมากมาย กิจกรรมที่เลือกทำได้เยอะ แต่เดี๋ยวนี้ Central จึงต้องดึง Attention โดยการให้คนมานั่ง มีเก้าอี้ โต๊ะ ปลั๊กไฟ Wifi ฟรี แถมมี event เพื่อให้ คนมานั่งพักก่อน


Attention สร้างยังไง? ตอนนี้ทุกคน คือ สื่อ ถ้าตัวเราสร้างความสนใจไม่ได้ สัตว์เลี้ยงของเรา หมาแมว อาจจะดึงความสนใจได้

Be relevant

ต้องสื่อสารสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคนดู คนฟัง ถึงจะสร้างความสนใจ และรักษาแฟนคลับได้
แผนธุรกิจที่ทำอยู่ ตอบโจทย์ อดีต ปัจจุบัน แล้วตอบโจทย์อนาคต หรือไม่?

3. Climate Action – Net Zero

-โลกร้อน ทำให้เกิดภัยพิบัติมากมาย ใกล้ตัวเราขึ้นเรื่อยๆ เราต้องช่วยกัน ในระดับที่ทำได้
-ร่างกฎหมาย Carbon Tax ส่งผลให้รถที่ปล่อยคาร์บอนเยอะ จะเสียภาษีเยอะ
-EU ออกกฎหมายนี้แล้ว ส่วนไทย ไม่เกินไตรมาส 4 จะออก
-ธุรกิจพรม ปล่อย Carbon สูงมาก บริษัท Interface เอาแหอวนมา

-รีไซเคิล ทำพรม เปลี่ยนพลังงานที่ใช้มาเป็นพลังงานสะอาด 76%
สามารถ achieve Net Zero Carbon Emission ได้ในปี 2019 (เร็วกว่าแผน 1 ปี)

Be a Good Citizen

สังคมต้องการ ลูกค้าต้องการ
และผู้คุมกฏ ก็จะ enforce เรื่องรักษ์สิ่งแวดล้อม

4. Artificial Intelligence

– ChatGPT ช่วยสร้างเนื้อหา, AI สร้าง Slide และ AI สร้างคลิปวิดีโอเราพูดได้แล้ว
-Technology สร้างคุณค่าทางธุรกิจ เพิ่มความเร็ว ลดของเสีย และลดต้นทุนได้ ไม่ได้บอกว่าจะให้เอาเทคโนโลยี มาแทนคน แต่มาช่วยคนให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
-Readyplanet ถ่ายนามบัตร AI เก็บข้อมูลให้ ช่วยทุ่นแรงเซลล์ได้

Be Smart

เราต้องเป็น Smart Organization ด้วยเทคโนโลยี

5. Energy

ทุกธุรกิจจะไปไม่ได้ ถ้าไม่มีคน ประเทศไทยอาจเหลือประชากรเพียง 40 ล้านคน และ 20 ล้านจะเป็นคนที่เกษียณอายุแล้ว ธุรกิจจะทำยังไงต่อไป พนักงานที่ engage สร้างรายได้มากกว่า พนักงานทั่วไป 26% ในองค์กรมีพนักงานที่ engaged เพียง 29% ถ้าเปลี่ยนคนที่เหลือให้ engaged ได้ จะเพิ่ม productivity องค์กรอีกเยอะ

การเติบโต career path
ความสัมพันธ์ที่ดีต่อคนในองค์กร
อิสระในการตัดสินใจในงานตัวเอง
ปลอดภัย ทำผิดได้ ไม่มีใครเหยียบซ้ำ
มีความยุติธรรม

สุขภาพดี ชีวิตดี well-being

Mars เปิดใจรับ LGBTQ+ ได้ talents ที่มีความหลากหลายทางเพศเพิ่มเยอะเลย
Google ให้ใช้เวลา 20% ไปเรียนรู้ได้ ทั้งเรื่องที่บริษัทอยากให้เรียน และเรื่องที่อยากเรียนเอง
DHL มี fit for life ให้คนไปออกกำลังกาย
Be Human
ทำให้คนในองค์กร เป็นมนุษย์ อย่ามองมนุษย์เป็นเครื่องจักร เป็นทรัพยากร
ฝากให้ทบทวน กลยุทธ์ 5 points on checklist

กลยุทธ์ ตอบโจทย์อนาคต

Attention from customers

เราเป็นประชากรที่ดีหรือยัง

คิดเรื่อง AI ได้แล้ว

ดูแลทุกคนเหมือนคนในครอบครัว

Source จาก : Thiraya M Thiranakanat
Source รูปภาพจาก : Joh Chaweewan Kongchoksamai

พี่อ้วนสายมูรวบรวมอีกครั้ง

IDEA2MOBILE รับวิเคราะห์ข้อมูลผ่าน Social Listening