เป็นอีก Case Study ที่น่าสนใจที่คุยกับทางผู้ประกอบการ ว่า ทั้ง Brand หรือ SMEs มีร้านค้าใน Shopee และ Lazada อยู่แล้วยังจำเป็นไหมที่ต้องมาใช้ Social Data ในการทำการตลาดมันจะมีประโยชน์อย่างไรในเมื่อ แพลทฟอร์มของต่างประเทศ เขาก็มีงบโฆษณาในการยิง Ads ให้ และ ช่วยเราขายได้ดีอยู่แล้ว อาจจะเสียค่าบริการของผู้ให้บริการนิดหน่อยมันก็คุ้มอยู่แล้ว ทำไมเราต้องมาใช้ข้อมูลย้อนหลังหรือ Social Data เพิ่มเติมแล้วมันช่วยเราในการทำการตลาดได้จริงเหรอ?
ก่อนจะไปเจาะลึกว่า Social Data มันมาช่วยการตลาดในการหาข้อมูลสนับสนุน ร้านค้าใน Shopee หรือ Lazada ได้อย่างไร? แน่นอนก่อนลูกค้าจะกด Add to cart มันผ่านกระบวนการเปรียบเทียบราคา,การรีวิว,การค้นหาข้อมูล มาจนถึงขั้นตอนสุดท้ายแล้วคือ การซื้อสินค้าชิ้นนี้ที่ได้ทำการบ้านมาเป็นอย่างดี และ ปัจจัยที่ทำให้ลูกค้าซื้อเร็วที่สุด คือ ส่วนลด และ ส่งฟรี ของผู้ให้บริการแพลทฟอร์มนั้น ๆ
พฤติกรรมของผู้บริโภคก่อนที่เขาจะไปซื้อ
3C Content ==> Community==> Commerce
ป้ายยา ที่หลายคนคงคุ้นเคยกับคำศัพท์นี้ ไม่ว่าจะเป็นช่องทางใดช่องทางนึงที่เขาซื้อสินค้าแล้วเอามารีวิว หรือถามความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ที่เขาซื้อไปก่อนเรา ทำให้สินค้านั้นมีความสนใจอยากจะใช้สินค้าแบบนี้ยี่ห้อนี้ และจบลงด้วยของแบบนี้ มันต้องมี
อะไรที่เติบโตในช่วงนี้สำหรับคนทำงานที่บ้าน Work Form home
เราลอง research จากเพื่อนรอบตัวในช่วง Work form home ที่ผ่านมาเพื่อน ๆ เราไปแฝงใน Group ไหนที่สมาชิกเติบโตมากกว่า 1 แสนคนในช่วงเวลาที่อยู่บ้านทำงานกัน และก็โดนป้ายยาซื้อสินค้าตามกลุ่มที่ให้คำแนะนำมา อันดับเบื้องต้น โดยความสนใจแบบส่วนตัวมาเลยก็คือ
- Facebook group จัดโต๊ะคอม
- งานบ้านที่ฉันรัก เพราะเป็นพ่อบ้าน
- ไม้ด่าง ไม้ฟอกอากาศ แม่บ้านชอบ
- อื่น ๆ
Demand ที่เติบโตคือ Content Marketing ที่คนสนใจ
ตัวอย่างจริงพ่อบ้านใจกล้า หรือ พ่อบ้านที่ต้องทำหน้าที่แทนแม่บ้านบ้างในบางครั้ง บวกกับสินค้าที่ทันสมัยในราคาไม่แพงและช่วยประหยัดเวลาในการทำงานแทนเรา เรามาดูกันก่อนว่า ตอนนี้ในภาพรวมของพ่อบ้าน หรือ แม่บ้านเขาค้นหาสินค้าอะไร
Keywords : เครื่องอบผ้า , เครื่องล้างจาน , การต่อเติมบ้าน ซึ่งการคุยกันบนโลกออนไลน์ แล้ว เกิดให้เกิดความต้องการค้นหาไปใน Google พร้อม ๆ กัน ว่ามันดีกว่าไม่มีอย่างไร ? แล้ว สินค้ายี่ห้อไหนดี, แล้ว มันช่วยเราได้อย่างไร เกิดการพูดคุยกันอย่างมาก
และการค้นหาใน Google Trends ก็บ่งบอกได้ว่าในช่วงระยะเวลาที่คนอยู่บ้าน แล้วอยากจะหาอุปกรณ์ที่ลดแรงภาระในการทำงานบ้าน+จะต้องทันสมัยด้วย เหมาะแก่การโดนป้ายยา ว่าของที่ฉันต้องมีเขา Search ค้นหาอะไรกันบ้าง ทำให้เกิดความสนใจในการค้นหาต่อว่า ยี่ห้อไหนดี, ดีอย่างไร
สำหรับ Brand หรือคนที่ขายสินค้าใน E-Commerce ข้อมูลจาก Google Trends นั้นยังไม่เพียงพอเพราะสิ่งที่ต้องการเราอยากรู้พฤติกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อจะทำการตลาดให้เข้าใจได้มากกว่านี้ สิ่งที่จะช่วยเราได้คือ Social Data หรือ Social listening ที่ไปเอาข้อมูลบนโลกออนไลน์ที่เขาคุยกัน
Social Data มันไปดึงข้อมูลใน Group ไม่ได้ แต่เราดึงภาพรวมความสนใจได้
ตัวอย่างที่อยู่ในกลุ่มของ งานบ้านที่รักที่มีสมาชิก มากกว่า 1 แสนคนอยู่ในนั้น ซึ่งการที่เราเข้าไปดูในข้อมูลของกลุ่มนั้นเราจะเห็นพฤติกรรมคล้าย ๆ กัน คือ ความสนใจในการดูแลบ้าน หาเครื่องมือที่ทำให้เรานั้นประหยัดเวลา โดยใช้เงินในการแก้ปัญหา และ เราจะได้ Keywods อะไรบ้างที่จะเข้าไปใน Social Data เพื่อที่จะไปดูภาพรวมบนโลกออนไลน์ต่อ
เครื่องล้างจาน ,เครื่องอบผ้า สินค้าที่่เติบโต
กลับมาตั้งคำถามสำคัญสำหรับ Demand ที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์
ถ้า Brands หรือสินค้าใกล้เคียงที่คนให้ความสนใจที่ใช้ควบคู่กันกับ เครื่องอบผ้า , น้้ำยาอบผ้า หรือ อื่น ๆ เช่น ขาตั้ง,การต่อเติม, การให้บริการเงินผ่อน นั้นเราทำอะไรไปกับกลุ่มเป้าหมาย Target นี้แล้วหรือยัง รวมถึงคำถามเพิ่มเติมเช่น
- (Brands) ทำการตลาดบนโลกออนไลน์ เข้าถึงกลุ่มลูกค้านี้หรือยัง ?
- คนที่แนะนำสินค้าเราให้กับคนอื่น มีใครบ้าง รวมถึงคนด่า เรา มีการเข้าไปแก้ไขหรือไม่?
- ถ้าลูกค้าจะซื้อติดปัญหาเรื่องเงิน Brands มีไปช่วย Co-Promotion กับ ผู้ให้บริการเงินผ่อนไหม?
- ถ้าลูกค้าซื้อของจากคู่แข่งเพราะเหตุใด เราทำการบ้านมาดีพอไหม
- ทำอย่างไรให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้เร็วขึ้น
- ฝากร้านฟรี,ช่องทางไหนที่ช่วยให้เราประหยัดต้นทุนในการทำสื่อโฆษณา
- คู่แข่งทำอะไรบ้าง,สินค้าที่ขายดี
- Feedback ที่ได้จากระบบ Lazada / Shopee กับ Feedback ที่ได้จากสังคมออนไลน์
- อื่น ๆ
Guideline ทีได้จาก Mandala Analytics
Social Data ที่ดึงข้อมูลจาก Keywords เครื่องล้างจาน เครื่องอบผ้า ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2021 จนถึงปัจจุบัน กันยายน 2021 เป็นไปในแนวทางเดียวกันกับ Google Trends ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าแปลกว่าเครื่องอบผ้ามาเติบโตหรือคนสนใจในช่วงนี้ได้อย่างไร ถ้าไม่ใช่หน้าฝนเป็นปัจจัยเพียงอย่างเดียว หรือว่าการป้ายยาจาก Group ทำให้กระแสเติบโตอย่างรวดเร็ว
สัดส่วนการพูดถึงเครื่องอบผ้ากับ เครื่องล้างจานที่มีการพูดกันบนโลกออนไลน์
ย้อนกลับไปดูของ Google Trends กันอีกรอบนะ “เครื่องอบผ้า” นั้น ที่เป็นจุดไข่ปลามีแนวโน้มสูงในการค้นหาจาก Google Trends แล้วถ้าเราไปหาผลลัพท์จาก Google ผลที่ได้ก็จะไม่เจอเรื่องของพฤติกรรมจะเจอก็จะมีแต่ SEO หรือ Ads โฆษณาขายของ และถ้าเราต้องการหาว่าทำไมคนถึงสนใจ แทบจะหาข้อมูลตรงนี้ไม่ได้เลย
Post ไหนในเครื่องอบผ้าที่คนสนใจอยากจะเข้าไปมีส่วนร่วม Engagement มากที่สุด
เมื่อเราเข้าไปดูว่า Post ไหนที่ได้รับความสนใจมากที่สุดเกี่ยวกับ เครื่องอบผ้า ความสนใจของคนส่วนใหญ่ที่เข้าไปมีส่วนร่วมกับ Post ไหนที่ตัดโฆษณาจาก Brands ออกไป
เราสามารถใช้ TOP Mention แต่ละ Platform ดูความเคลื่อนไหวของ Brands ที่ได้ว่าจ้าง Influencer / KOL ต่าง ๆ ที่เขาช่วยทำการตลาดให้ Brands และวิเคราะห์ได้ต่อทันที
แต่ส่วนใหญ่ที่ Brands อยากได้คือ Comment ที่เกิดขึ้นมากกว่า เพื่อนำมาวิเคราะห์และปรับปรุง
Feedback ที่ได้จากระบบ Lazada / Shopee กับ Feedback ที่ได้จากสังคมออนไลน์
เราจะเห็นว่า Feedback จากร้านค้าออนไลน์ มักจะชี้นำไปที่บริการรวดเร็ว ,ส่งฟรี, ลดราคา ซะเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมันเป็น Pattern ของระบบ E-Commerce อยู่แล้วที่จะต้องรีบปิดการขาย แล้วการให้ลูกค้ามา reviews ทำให้เกิดความมั่นใจในการสั่งซื้อสินค้านั้น จะสำคัญกว่าหา Feedback หรือว่าทำไมต้องมาซื้อรุ่นนี้
สนใจอยากลอง Zocial Eye มีให้ทดลองใช้ฟรี 7 วัน
สามารถเข้ามา Link นี้ ได้เลย มีสอนฟรีด้วย https://idea2mobile.com/2018/wisesight_1.php
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่
พี่อ้วนสายมู
www.idea2mobile.com
Call : 0863863896