Influencer Marketing ช่วยทำการตลาดให้สินค้าและบริการ เข้าถึงได้เร็ว เพิ่มยอดขายได้ง่าย เป็นสิ่งที่นักการตลาดให้การยอมรับสำหรับช่องทางนี้ เพราะสามารถเข้าถึงคนกลุ่มใหม่ (new audience) ได้เร็ว และ เพิ่มยอดขายได้ตามบุคลิกลักษณะ ของ Content Creator Page ที่ได้เชียร์สินค้านั้น ๆ
สำหรับบทความเกี่ยวกับการเลือก Influencer นั้นสามารถดูย้อนหลังได้ ตามหัวข้อด้านล่างนี้
Influencer ที่เราว่าจ้างคุ้มค่าหรือไม่? เราจะวัดผลได้อย่างไร วันนี้มี Chat GPT ช่วยนำทางในการ Guide Line หาคำตอบมาให้เราแล้ว
Chat GPT ให้ Guide Line ในการนำทางของการทำ KPI มา 2 ค่า
1.KPI (Key Performance Indicator) ความคุ้มค่าของการจ้าง
2.Cost per Engagement ค่าใช้จ่ายต่อการมีส่วนร่วม
- KPI (Key Performance Indicator) และ Cost per Engagement เป็นสองค่าที่ใช้ในการวัดประสิทธิภาพและคุณภาพของการจ้าง Influencer โดย KPI จะเป็นตัววัดรวมที่คำนวณจากจำนวนผู้ติดตามของ Influencer x Engagement Rate x ะความคุ้มค่าของการเสียเวลา (time value) ซึ่งแสดงถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการจ้าง Influencer เมื่อเทียบกับราคาการจ้าง
- Cost per Engagement เป็นตัววัดที่คำนวณจากราคาการจ้างผู้ร่วมงาน (influencer) หารด้วยจำนวน Engagement (การตอบกลับจากผู้ชมที่เกิดขึ้น) โดยใช้ค่าเฉลี่ยต่อการดู 1 นาที (Average watch time) ซึ่งแสดงถึงความสนใจของผู้ชมต่อเนื้อหาและโฆษณาบนแพลตฟอร์ม
หาก KPI มีค่าสูง (>1) แสดงว่าผู้ติดตามและผู้ชมของ Influencer มีการเชื่อมโยงและร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพ ส่วน Cost per Engagement ที่มีค่าต่ำ (<1) แสดงว่าการเชื่อมโยงนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีความคุ้มค่าต่อการลงทุนในการโฆษณาและการตลาด
1.KPI (Key Performance Indicator)
สูตรในการคำนวณความคุ้มค่า KPI (Key Performance Indicator) ในการว่าจ้าง Influencer มีค่าเท่ากับ
KPI = จำนวนผู้ติดตาม X Engagement Rate X ความคุ้มค่าในการเสียเวลา / ราคาจ้าง
จำนวนผู้ติดตาม = Follower Page หรือคนที่ Likes page , Subscriptions
Engagement Rate = (ยอดรวมการมีส่วนร่วมในหนึ่งโพสต์ ÷ จำนวนผู้ติดตาม) * 100
ความคุ้มค่าของการเสียเวลา หรือ ค่าเฉลี่ยในการดู Post ให้ประมาณว่า หากเราใช้เวลาดูโฆษณาบน Facebook 10 วินาที และค่าเฉลี่ยต่อการดู 1 นาที ของ Facebook คือ 0.02 บาท แล้วค่าคุ้มค่าของการเสียเวลาที่เราใช้ดูโฆษณาบน Facebook เท่ากับ (10/60) x 0.02 = 0.0033 บาท
ราคาค่าจ้าง Rate ค่าจ้างในการจ้าง Influencer
การว่าจ้าง Influencer ขึ้นอยู่กับ Rate ค่าใช้จ่ายในการต่อรอง ทั้งนี้เป็นสมมุติฐานในการนำมาคำนวณเพื่อหา KPI กับ Case Study ที่กำลังจะเล่าต่อไปนี้
2. Cost per Engagement
สูตรในการคำนวณหาต้นทุนต่อการมีส่วนร่วม (Cost Per Engagement) ในการว่าจ้าง Influencer มีค่าเท่ากับ
Cost per Engagement = ราคาการจ้าง / (จำนวนผู้ติดตาม x Engagement Rate x ค่าเฉลี่ยต่อการดู)
ยกตัวอย่าง : ขออธิบายเพิ่มเติมว่า ค่าเฉลี่ยต่อการดู 1 นาทีบน YouTube ซึ่งมีค่าประมาณ 0.15 บาท นั้นเป็นการคำนวณโดยอ้างอิงจากข้อมูลเฉพาะเกี่ยวกับโฆษณาบน YouTube โดยค่านี้จะเป็นค่าประมาณที่คำนวณมาจากข้อมูลเฉพาะในการโฆษณา ไม่ใช่ค่าเฉลี่ยทั่วไปของการดูวิดีโอบน YouTube โดยในการคำนวณนี้ จะนับเฉพาะการเปิดและดูโฆษณาบน YouTube เท่านั้น ซึ่งค่านี้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามตลาดและกลุ่มเป้าหมายของโฆษณานั้น ๆ ดังนั้นการคำนวณเหล่านี้เป็นเพียงการประมาณเท่านั้น และควรใช้เป็นข้อมูลเพื่อการวางแผนและคำนวณเบื้องต้นเท่านั้น การจะคำนวณค่าเฉลี่ยต่อการดูของเนื้อหาวิดีโอบนแพลตฟอร์มอื่น ๆ จำเป็นต้องพิจารณาตามข้อมูลและเงื่อนไขของแพลตฟอร์มนั้น ๆ ด้วย
Uses Case : สำหรับการใช้ WISESIGHT เข้ามาช่วยในการทำ Report KPI
Post ตัวอย่างที่ถูกว่าจ้างผ่าน Page Influencer ที่มีผู้ติดตามมากกว่า 6 ล้านค้นถือว่าเป็น MEGA ได้เลยทีเดียว แต่การ Post แต่ละครั้งค่าใช้จ่ายสูงมากทีเดียว
Back office : Social Listening ของ WISESIGHT ให้ข้อมูลอะไรได้บ้างเมื่อเราใส่ Keywords ในการ Monitor Campaign
Key Performance Indicator หาข้อมูลตั้งต้นก่อน
Follower (จำนวนผู้ติดตาม) = 6,718,875
Engagement / Post (การมีส่วนร่วมต่อ 1 Post) = 2,360
Engagement Rate = (ยอดรวมการมีส่วนร่วมในหนึ่งโพสต์ ÷ จำนวนผู้ติดตาม) * 100
Engagement Rate = (2,360/6,718,875) * 100 = 0.0351
ความคุ้มค่าของการเสียเวลา = 0.0033 บาท
KPI = 6,718,875 X 0.0351 X 0.0033 / ราคาค่าจ้างตีเป็นตัวเลขกลม ๆ 50,000 บาท
KPI = 0.014 < 1 (ค่าเฉลี่ยจะน้อยกว่า 1 ถือว่ายังไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน)
Cost per engagement ต้นทุนค่าจ้างต่อการมีส่วนร่วม
Cost Per Engagement = ราคาการจ้าง / (จำนวนผู้ติดตาม x Engagement Rate x ค่าเฉลี่ยต่อการดู)
Cost Per Engagement = 50,000/(6,718,875 X 0.035 X 0.15) = 1.417 บาท
Cost Per Engagement เท่ากับ 1.417 ค่ามากกว่า > 1 จะถือว่ายังไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน
ดังนั้น แคมเปญนี้จะมีค่า KPI ค่อนข้างต่ำ (น้อยกว่า 1) และ Cost per engagement ที่(มากกว่า 1) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแคมเปญนี้มียังไม่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าในการลงทุนในการจ้าง Influencer
สามารถดูแบบ Video ในการเล่าเรื่อง KPI ได้
เป็นอีกบทสรุปในตัวช่วยของการใช้ Chat GPT ที่เข้ามาช่วย Guide Line ในการทำ KPI (Key Performance Indicator) ในการดูเรื่องของการว่าจ้าง Influencer ว่าคุ้มค่าหรือไม่ โดยมีเบื้องหลังเป็น Social Listening ที่ใช้งานง่าย ๆ
เริ่มต้น 3000 บาทต่อเดือนจำหน่ายเฉพาะ Partner ดูรายละเอียดได้ที่ Link นี้ https://idea2mobile.com/2018/wisesight.php
สำหรับ องค์กร & SMEs ที่ต้องการใช้ Social Listening เพื่อหา Insight แล้ว ไม่มีพนักงาน หรือ ไม่อยากเสียเวลาในการดูข้อมูลสามารถใช้บริการจาก Website นี้ได้ครับ
บริการต่อท้าย IDEA2MOBILE.COM ให้บริการ
1.วิเคราะห์ Keywords เพื่อหา Insight behavior Customer เพื่อไปต่อยอดกลยุทธ์ทางการตลาด
2. Insight Content for Marketing เชิงลึกเพื่อเนื้อหาให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจนขึ้น
3.Servey Online & Off-line เพื่อเข้าถึง Customer ได้ชัดเจนขึ้น
ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม
บริษัท ฟร้อนท์ไลน์ เทคโนโลยี จำกัด
Tel: 086-3863896