ปี 2023 คนส่วนใหญ่เริ่มออกมาใช้ชีวิตประจำวันตามปกติแล้ว เราดูได้จากอะไร? การบริโภค, การท่องเที่ยว, การเดินทาง, Shopping ซึ่งเหตุการณ์ใกล้ตัวมากที่สุดคือ การหาร้านที่อยากกินแล้วต้องไปรอคิว เช่น สุกี้ โหทำไมรอนานจัง เลยอยากจะเข้าไปหา Insight ของการกินแบบรอคิวนาน ๆ ซึ่งแน่นอนการกินแบบนี้ส่วนใหญ่จะมาเป็นกลุ่มเพื่อนหรือมากกว่า 2 คน เลยอยากใช้ Dom Social listening ที่เขาให้ระบบมาลองใช้งานทำการ Research ดูว่ามี Insight อะไรบ้าง
ประเภทของการกิน ที่ต้องจองคิวกันมากตอนนี้ มีอะไรกันบ้าง?
Google Trends น่าจะให้คำตอบได้ดีกับ Lifestyle ตอนนี้
- สุกี้
- ชาบู
- หมูกระทะ
- บุฟเฟ่ต์
คนส่วนใหญ่ค้นหา Lifestyle เกี่ยวกับการกินกันเป็นกลุ่มแบบนี้เยอะเลยซึ่ง Index ของ Google Trends ให้ค่า 0-100 โดยทั้ง 4 Keywords ที่ใส่เข้ามา Index > 20 ทุกตัวเลย
Location : ส่วนใหญ่จะค้นหาใน พื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล จะเป็นลำดับต้น ๆ และ Keywords ที่ค้นหาส่วนใหญ่ค้น หมูกระทะ,ชาบู,สุกี้ ตามลำดับ
สุกี้จินดา กระแสร้อนแรงมาก? เดี๋ยวเราเข้าไปทำการบ้านต่อใน Social Listening (น่าจะทำอีกบทความนึง)
สุกี้ กับ Locations พื้นที่แผนที่ด้านซ้ายมือ ความนิยมไม่ได้อยู่ที่กรุงเทพและปริมลฑล แต่ความนิยมไปเกือบทั่วประเทศ คิดว่าน่าจะเป็นสาขาของสุกี้ที่มีชื่อเสียงไปเปิดเฟรนช์ชายส์ที่ให้บริการอยู่
ชาบูมีเรื่องเกม เข้ามาเกี่ยวข้อง (ไม่เกี่ยวกับที่เราค้นหา) แต่ราคาชาบู ก็มีคนถามอยู่เยอะ
หมูกระทะ กับสถานที่ เช่น MBK,เจริญนคร หรือ Location ต่าง ๆ ก็ถูกนิยมหากันเพิ่มขึ้น
หมูกระทะ อาหารยอดนิยม และ มักจะบวกเป็นอาหารของโรงแรมตามที่พักอาศัย ในการชมธรรมชาติที่ผ่านมา ช่วงปีใหม่ ไปพักแถวเขาค้อ ก็มีหมูกระทะ + เข้าไปกับค่าที่พัก เลยไม่แปลกใจว่า หมูกระทะจะเป็นสิ่งที่พูดถึงเยอะมากกว่าอย่างอื่น
บุฟเฟ่ต์ (ข้าวแกง,บาบีกอน,ทุเรียน)
บุฟเฟ่ต์ ส่วนใหญ่จะไปที่ข้าวแกง ,ทุเรียน, บาบีกอน , และ บุฟเฟต์เป็นคำที่ใช้กับอาหารที่บริการด้วยตนเอง แต่ก็ยังเป็นที่นิยมของการค้นหาบนโลกออนไลน์
สิ่งที่เราอยากเข้าไปเจาะลึกเพิ่มเติมจาก Social Listening ของ DOM (Insight ERA) เริ่มต้นตั้งแต่ 1 ม.ค. 2023 – 31 ม.ค. 2023
สำหรับการใช้งาน Dom Social listening นั้นเคย Reviews ไว้ส่วนนึงแล้ว สามารถดูได้ที่ Link ด้านล่าง
ประเภทของการกินอาหารอะไร Hot ที่สุด? (1 ม.ค – 31 ม.ค.2023)
Highlight ของ Dom Social Listening นี้ คือ Comparison การเปรียบเทียบ Keyword ทั้งหมดแบบ Real-Time
หมวด Compare นี้จะทำงานควบคู่ไปกับการกำหนดค่า Keyword และ Category ซึ่งถ้าเคยใช้ Social listening จาก Brand อื่นมาจะงง แต่จะเขียนอีก 1 Blog ในภายหลัง
ภาพรวมในรอบ 30 วัน กับประเภทอาหารที่พูดถึงบนโลกออนไลน์ วัดผลจาก Engagement (การมีส่วนร่วมในสังคมออนไลน์)
ผลลัพท์ของการดูสัดส่วน Compare คนส่วนใหญ่ในสังคมออนไลน์ (Data ยังไม่ Cleansing) พูดถึง
- สุกี้ มาเป็นอันดับ 1 มากถึง 30%
- หม้อไฟ มาเป็นอันดับ 2 มากถึง 28%
- หมูกระทะ และ ชาบู มาเป็นอันดับ 3 ประมาณ 16-17 %
เจาะลึกลงไปอีก ว่า แต่ละวัน Time Frame (Trending นั้นเป็นอย่างไร)
สังเกตุได้ว่า Trends ช่วงปลายเดือน มกราคม 2023 นั้น โดดเด่นมากอาจจะเพราะเงินเดือนออก, หรือ มีข่าวต่าง ๆ เกี่ยวกับ Keyword ที่เรากำลังค้นหา เช่น เราต้องการเจาะคำว่า สุกี้ สีกราฟ นี่สุดยอดของ UI ในการออกแบบนะ
UI (User Interface) ของ DOM นั้นใช้แบบ Click to hide อะไรที่ไม่เอาก็กดปิดไป
เมื่อเห็น Lifestyle การกินแบบนี้ น่าจะไปเป็นกลุ่มมากกว่า 2 คนแน่ จริง ๆ สามารถเจาะ Lifestyle ได้ทั้งหมด แต่ลอง Sample ของเราที่ต้องการหา คือ สุกี้
เจาะลึกลงไปอีกว่า Keywords มาจากช่องทางไหน
สังเกตุได้ว่า แต่ละช่องทางที่โดดเด่นมีนัยยะสำคัญอะไรบางอย่าง
Twitter : Top Engagement สูงสุด Keyword หมูกระทะ
Instagram : Top Engagement สูงสุด Keyword หม้อไฟ
Facebook : Top Engagement สูงสุด Keyword สุกี้
เรามาดูมิติแบบ มิติแบบ Scatter Chart
Lifestyle การเลือกกิน ,ข่าว บริบทต่าง ๆในสังคมออนไลน์ใกล้เคียงกันเลย นี่แหละถึงได้บอกว่า การใช้ชีวิตเลือกกินนั้น กลับมาใช้ชีวิตแบบปกติแล้ว
เจาะลึกลงไปอีกว่า Keywords ความรู้สึกเป็นอย่างไร Sentiments
ความสุข (Positive) จากการกินที่ระบบให้ค่า Positive มา น่าจะเป็นเรื่องดี ๆ ของการกิน
Sample Case : เจาะรายละเอียด Top Engagement ในวันที่มีการพูดถึงสูงสุดสัก 1 หัวข้อ
วันที่ 27 มีทั้งข่าวดี และ ข่าวร้าย โดยข้อมูลนี้ไปทาง สื่อ Mass Media รายการ TV ไปแล้ว ทำให้ถูกพูดถึง มากที่สุดในวันดังกล่าว
มีข่าวดีของสุกี้ตี๋น้อย จากช่องข่าว Spring News ที่มี engagement มากถึง 123K
และถ้าต้องการเจาะข้อมูลส่วนอื่น ที่ต้องการอยากรู้ก็กด Click ดูแต่ละ กราฟ (UI ) ของระบบที่ให้มาได้เลยทันทีที่ระบบออกแบบมาให้
ถ้าอยากดูข้อมูลส่วนอื่น ๆ ทำไงอะครับ
ต้องสมัครเริ่มต้นที่ 5000 บาทต่อเดือนครับ หรือ อยากใช้ทดลองใช้ฟรี emails : มาหาพี่อ้วนที anantachai@idea2mobile.com
บทความนี้ให้ดูภาพรวมของการกินเป็นกลุ่ม หรือ มามากกว่า 1 คนไปก่อน เดี๋ยวบทความต่อไปจะไปเจาะ Brands สุกี้ละ
สำหรับในบทความต่อไป มาสำรวจ Brands กันบ้าง ทำไมสุกี้ จินดา ถึงได้ Top form มากในช่วงนี้
สุกี้ ตี๋น้อย VS สุกี้ จินดา
อย่าลืมติดตามกันนะครับ
ก็เป็นบทสรุปคร่าว ๆ จากการใช้ Dom Social Listening ของผู้พัฒนาคนไทย ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่อยากจะลองนำเครื่องมือนี้เข้ามาวางแผนทางการตลาด , การ Research, และ หา Insight อะไรบางอย่าง โดยขอนำประสบการณ์ใช้งานมาบอกเล่าต่อกัน
สำหรับ องค์กร & SMEs ที่ต้องการใช้ Social Listening เพื่อหา Insight แล้ว ไม่มีพนักงาน หรือ ไม่อยากเสียเวลาในการดูข้อมูลสามารถใช้บริการจาก Website นี้ได้ครับ
IDEA2MOBILE.COM ให้บริการ
1.วิเคราะห์ Keywords เพื่อหา Insight behavior Customer เพื่อไปต่อยอดกลยุทธ์ทางการตลาด
2. Insight Content for Marketing เชิงลึกเพื่อเนื้อหาให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจนขึ้น
3.Servey Online & Off-line เพื่อเข้าถึง Customer ได้ชัดเจนขึ้น
ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม
บริษัท ฟร้อนท์ไลน์ เทคโนโลยี จำกัด
ติดต่อ : คุณอนันตชัย (อ้วน)
Tel: 086-3863896