Beginning 101 บทที่ 4. พื้นฐานของ Social Listening เป็นบทสุดท้ายของ Beginning 101 แล้วหลังจากนั้นจะต่อด้วย Beginning 201 ในบทที่ 5: จะเริ่มเจาะลึกเข้าไปยังพื้นฐานของลูกค้าต้องการอะไร,อะไรเป็นตัวตัดสินใจให้ลูกค้าซื้อสินค้า แล้วเราจะฟังเสียงจากลูกค้าได้อย่างไร ? จะเขียนต่อจากบทนี้ ซึ่งเป็นบทที่ 5 ไว้คอยติดตามกันนะครับ สำหรับบทที่ 4 ผลลัพท์ที่เราจะได้จาก Social listening สำหรับการเข้าไปใช้บริการหรือเสียค่าใช้จ่ายให้กับบริการ Social Listening ไม่ว่าจะเป็นของประเทศไทย หรือ ของต่างประเทศ เราจะได้ Dashboard ผลลัพท์ ที่สามารถนำไปใช้งาน ซึ่งตัวอย่างท้ายบทความ เป็นการดาวน์โหลด Download Data ไปทำต่อใน Google Data Studio มีด้วยกันหลายตัวอย่างสามารถเอาไปประยุกต์ใช้งานกันต่อได้ทันที
Social Data ข้อมูลบนโลกออนไลน์จำนวนมากที่มีการพูดคุยกันบนโลกออนไลน์ ที่ทุกคนรู้จักและใช้งานในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นช่องทาง Facebook, Twitter, Youtube, Instagram จะถูกการกรองให้เหลือสิ่งที่เราต้องการ ด้วย Keyword ที่เราตั้งไว้ และรวบรวมมาให้อยู่ในรูปแบบ UI (User Interface) จะมีผลลัพท์ที่นำไปใช้งานกันเริ่มตั้งแต่
- Total Mentions by Channel ข้อมูลที่พูดถึงเกี่ยวกับ keyword แล้วระบบจะรวบรวมข้อมูลให้เรารู้ว่ามีจำนวนเท่าไหร่ (Mentions)ในแต่ละช่องทาง เมื่อนำมาเปรียบเทียบจะใช้โยชน์ต่อการวิเคราะห์ได้หลายอย่างเช่น
Source : Data จาก Mandala Social listening ที่แสดงจำนวนข้อความ mention ว่ามีการดึงข้อมูลเข้ามาจาก Social Network / Pantip / Website หรือ Blog เป็นจำนวนเท่าไหร่
ประโยชน์ของ Total Mentions by channel ทำให้ทราบในแต่ละช่องทางว่าข้อความมาจากไหนมากที่สุด ซึ่งทำให้เราสามารถจับพฤติกรรมกลุ่ม Audience ว่ากำลังคิดอะไรอยู่ ซึ่งการบ่งบอกตัวตนออกมาบนโลกออนไลน์นั้นจะมีความแตกต่างกัน เช่น ช่องทาง Facebook คนส่วนใหญ่จะใช้เวลาไตร่ตรองเนื้อหาและรูปภาพ มากกว่า ช่องทาง Twitter ที่คนส่วนใหญ่จะใช้เป็นช่องทางระบาย หรือแสดงความคิดเห็นในสังคมที่เป็นกระแส ซึ่งถ้าเราต้องการดูว่าอะไรที่เป็นกระแสหรือติดตาม Trends ที่มีคนสนใจเป็นจำนวนมาก Twitter น่าจะเป็นช่องทางที่เหมาะสมมากกว่า
2. Total Engagement by Channel ข้อมูลที่พูดถึงเกี่ยวกับ keyword ที่เราสนใจแล้วให้ระบบรวบรวมข้อมูลเข้ามา ให้สามารถวิเคราะห์ได้ว่า Channel ไหน คนสนใจหรือมีส่วนร่วม มากที่สุด
Source: Data จาก Mandala Social listening ที่แสดงจำนวน Engagement คนที่มีส่วนร่วมจำนวนเท่าไหร่ จาก Social Network / Pantip / Website หรือ Blog เป็นการดูว่าเนื้อหา Contents ที่คนให้ความสนใจหรือมีส่วนร่วมใน Post เช่นการ Views Reach, Love, Like, Comment หรือการแสดง อิโมจิ ต่อ Post บ่งบอกถึงเนื้อหานั้นตอบโจทย์หรือตรงใจกับกลุ่มเป้าหมายที่กำลังสื่อสารออกไป บ่งบอกถึงเนื้อหาที่กำลังเป็นกระแสความสนใจ
Remark : ในที่นี้ถ้า Post ไหน มีการซื้อ Boost Post หรือโฆษณาจะไม่ขอนำมานับรวม จะนับเป็นยอด Organic เพียงอย่างเดียว แต่เราสามารถประเมินได้ว่า เนื้อหาที่ Engagement สูง ๆ นั้นแตกต่างจาก Post เดิม ๆ หรือไม่ ถ้าแตกต่างมากเราก็รับรู้ได้ว่าน่าจะเป็นการซื้อโฆษณา
3. Top Post by Channel โพสเนื้อหา Content ที่ได้รับการตอบรับมากที่สุด โดยส่วนใหญ่จะเรียงตาม Engagement ที่มากทีสุด และ สามารถ Source ผลลัพท์อื่น ๆ ได้ เช่น หา Post ที่มี Comment มากที่สุด,Like มากที่สุด ในแต่ละช่องทางของ Social Network ซึ่งเราจะสามารถทราบได้ว่าในแต่ละ Channel นั้น Post ไหนที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในเรื่องอะไร และเป็นประโยชน์อย่างมากในการนำทางให้เรารู้ว่า Post ไหนที่เป็นกระแส และ เราสามารถเข้าไปดูต้น Post ที่เกิดขึ้นได้
4. Top Comment by Users Users หรือผู้ติดตามคนไหนที่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมใน Post แล้ว คนที่ติดตามไปชื่นชอบ Comment ของ Users นั้น ซึ่งหมายความว่า มีคนคิดเห็นหรือเห็นด้วยใน Comment นั้น ๆ หรือ ตอบแทนความคิดตัวเอง
5. Keyword & hashtag ข้อความที่ได้ระบบได้ดึงเข้ามาแล้ว Mention อะไรที่มีการพูดคุคยกันมากที่สุด แล้วใช้เทคนิคการตัดคำ บ่งบอกให้เป็นตัวหนา แล้วยังสามารถวิเคราะห์เพิ่มเติมได้อีกว่า นอกจาก keyword หรือ hashtag ที่บอกมาแล้วคนส่วนใหญ่ยังสนใจ Keyword อะไรต่อ โดยเราสามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายหรือแบ่งกลุ่มเป้าหมายได้
6. Sentiment ความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ ที่มีต่อ Post จะประกอบไปด้วย Positive, Negative , Neutral
เช่น เราสามารถเข้าไปดูสิ่งที่ทุกคนชอบ Positive Post แล้ววิเคราะห์ออกมาได้ว่า คนส่วนใหญ่อ่าน Post แล้วชอบ,ชอบมากที่สุด,ให้คะแนนว่าเนื้อหาตรงใจเรา ทำให้เราเข้าใจ Audience นั้นเป็นแบบไหน เราควรจะทำ Contents เนื้อหาอย่างไรให้ตอบโจทย์ให้ดีที่สุด
ทั้ง 6 หัวข้อของ Report นั้นในระบบ Social Listening ที่ให้บริการหรือเสียเงินค่าใช้จ่ายเราจะสามารถ Download ออกมาเป็น Excel หรือ CSV Files ได้เราสามารถมาทำต่อใน Dashboard Marketing ผ่าน Power BI หรือ Google Studio ก็ได้เช่น
Dash board Marketing ที่ ดาวน์โหลดออกมาจากระบบ แล้วมาทำต่อใน Google Studio โดยทำเพิ่มไว้ 5 หน้า สามารถดูตัวอย่างได้ที่
Link : https://datastudio.google.com/u/2/reporting/c2661136-b26d-4937-9def-cb801b6ed6dd/page/fxvdB
หน้าแรก การแสดงผลภาพรวมทั้งหมด
หน้าที่สอง การแสดงผล Post Mention แต่ละช่องทาง
หน้าที่สาม Facebook page ที่คนติดตามมี Engagement มากที่สุด แยกตาม Time Line ของวัน
รายงานทั้ง 3 หน้า คือตัวอย่างในการออกรายงาน Report ที่เราได้ใช้บริการของ Social Listening ไม่ว่าจะเป็นทั้งของไทยหรือต่างประเทศ สามารถเอาไปประยุกต์ต่อยอดได้ทันที
สรุปของ Beginning 101: เริ่มต้นใช้งาน Social Listening บทที่ 4 สิ่งที่จะได้ Report จาก Social Listening
- Total Mentions by Channel
- Total Engagement by Channel
- Top Post by Channel
- Top Comment by Users
- Keyword & hashtag
- Sentiment
บทความ Beginning 101 เริ่มต้นใช้งาน Social Listening.
บทที่ 1. เริ่มต้นใช้งาน Social Listening. บทที่ 1 :เข้าใจแหล่งที่มาของข้อมูล
บทที่ 2. เริ่มต้นใช้งาน Social Listening.บทที่ 2 Data Thinking Mindset
บทที่ 3. เริ่มต้นใช้งาน Social Listening. บทที่ 3. เข้าใจพื้นฐานของเครื่องมือ
อย่าลืม ติดตามบทต่อไป Beginning 201 ในบทที่ 5: จะเริ่มเจาะลึกเข้าไปยังพื้นฐานของลูกค้าต้องการอะไร , อะไรเป็นตัวตัดสินใจให้ลูกค้าซื้อสินค้า แล้วเราจะฟังเสียงจากลูกค้าได้อย่างไร ?
Webmaster
Anantachai Ittiworapong
One thought on “Beginning 101: เริ่มต้นใช้งาน Social Listening บทที่ 4 ผลลัพท์ที่เราจะได้ จาก Social Listening”