Pain Point ปัญหาของลูกค้าที่ต้องการหาอะไรสักอย่างเพื่อแก้ปัญหาของตัวเองให้ดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นหาเครื่องมือในการทำงาน,สินค้า,หรือบริการ อะไรบางอย่างที่จะทำให้รู้สึกว่า สิ่งของเหล่านี้แหละที่เข้ามาตอบโจทย์ในชีวิตประจำวัน แล้วเราจะนำ Social Data เข้ามาดูความต้องการของลูกค้าได้อย่างไร ว่ากลุ่มลูกค้านั้นมี Pain Point อะไร บทที่ 6 นี้เลยเป็นการประยุกต์หาความต้องการ Pain Point ของลูกค้าโดยการใช้เครื่องมือตัวเดิมคือ Social Listening
Case Study อะไรคือสิ่งเข้ามาตอบโจทย์กลุ่มมนุษย์เงินเดือน เป็นเรื่องใกล้ตัวเราเลยละกัน อะไรคือสิ่งที่มนุษย์เงินเดือนต้องการ เราลองไปดู Cycle ของคนทำงานกันก่อน ใน 1 วัน 24 ชั่วโมงนั้นจะต้องอยู่กับการทำงานแบบไหน

มนุษย์เงินเดือน หรือคนทำงาน Office นั้น เริ่มตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้า ฝ่าฟันรถติดเพื่อที่จะไปทำงาน กินข้าว ทำงาน แล้วก็ฝ่าฟันการเดินทางรถติดเพื่อจะกลับถึงบ้าน เป็นแบบนี้ตลอดจนกว่าจะครบเดือนเพื่อรอเงินเดือนออก แล้ว ปัญหาของกลุ่มมนุษย์เงินเดือนมีอะไร เราลองมาดูว่า เหล่ามนุษย์เงินเดือนนั้นนั่งหน้าจอ Computer วันละกี่ชั่วโมง
จากข้อมูลของ We are Social ในปี 2020 ที่ผ่านมา คนส่วนใหญ่ น่าจะรวมถึงคนทำงานใน Office ด้วย เราอยู่กับโลก Internet มากถึงวันละ 9 ชม. ต่อวัน

สิ่งที่จะตามมาสำหรับการนั่งทำงานหน้า Computer และ การเดินทางกลับบ้านจะเกิดอะไรบ้าง เมื่อเราลองไปค้นหาคำว่า ปวดหัว, เครียด, ปวดหลัง ใน Google Trends สิ่งที่เราจะเห็นว่า อาการต่าง ๆ มีการค้นหาใน Google Trends ตลอดเวลา สิ่งนี้บ่งบอกอะไร บอกได้ว่า คนส่วนใหญ่กำลังจะเป็นโรคนิยมคือ โรคออฟฟิตซินโดรม

แล้ว โรคออฟฟิตซินโดรม นั้นบนโลกออนไลน์ เขามีการพูดคุยกันอะไรบ้าง รวมถึงมีแนวทางรักษาแบบไหน สิ่งที่เราจะต้องไปค้นหาต่อก็คือ Social Data ที่มีการพูดคุยกัน ซึ่งก็จะต้องใช้ Tool เครื่องมือที่เรียกว่า Social Listening มาวิเคราะห์กันต่อ
Keywords ที่เราลองกำหนดมาใช้งานเพื่อดูการพูดคุยกันบนโลกออนไลน์
“โรคออฟฟิตซินโดรม”,”นั่งทำงานนาน”,”การรักษา”,”จ้องคอม”,”ปวดตา”,”ปวดหัว”,”ปวดหลัง” ซึ่งคำดังกล่าวจะถูกพูดถึงมากในโลกออนไลน์
Social Data ข้อมูลที่ดึงขึ้นมาทุกช่องทาง (Mentions)

Social Data ข้อมูลที่ดึงขึ้นมาทุกช่องทาง (Engagement ) ที่คนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในโพส เช่น Love , Likes, Share ,Comments

เมื่อเราลองจัด Group ข้อมูลทั้งหมดที่เราได้จาก Social Data มาแล้วทำการสร้าง Label หรือ Tag เพื่อที่จะจัดประเภท Group ปรากฏว่ามี Insight ที่ได้รับการแนะนำและบอกต่อในทางออกของโรค โรคออฟฟิตซินโดรม ด้วยกันทั้งหมดประมาณ 4 กลุ่ม

กลุ่มแรก Device ที่จะเข้ามาช่วยตอบโจทย์ในชีวิตประจำวัน
กลุ่มสอง โรงพยาบาล รักษาโรคเฉพาะทาง ,การดูแล, และ การกายภาพ
กลุ่มสาม การดูแลตัวเองด้วยการออกกำลังกาย, เช่นการโยคะ ,การยึดเหยียด
กลุ่มสี่ การนวด,สปา,การฝังเข็ม
กลุ่มแรก Device ที่จะเข้ามาช่วยตอบโจทย์ในชีวิตประจำวัน ที่คนให้ความสนใจว่ามี Device อะไรที่บอกต่อกันในโลกออนไลน์ ซึ่งคนส่วนใหญ่สอบถามกันจาก Post ของ หมอนเพื่อสุขภาพ

กลุ่มสอง การออกกำลังกายอะไร ที่จะเข้ามาช่วยตอบโจทย์ในชีวิตประจำวัน
Youtuber ที่มีคนติดตามมากทั้งช่อง Facebook , Youtube ที่แนะนำวิธีสำหรับการออกกำลังกายแก้การปวดหลัง,คอ ,หรือ โรคออฟฟิตซินโดรม ที่มีคนช่วยกันบอกต่อจำนวนมาก และ ขอบคุณสำหรับคลิปดี ๆ ที่เอามาสอน

กลุ่มสาม การรักษาเฉพาะทางของโรงพยาบาล และ แพทย์ทางเลือก อื่น ๆ ที่มีให้เลือกใช้บริการได้หลากหลาย

ซึ่งแต่ละบริการที่นำมาโฆษณาก็ได้รับความสนใจไม่น้อย โดยทางเลือกแต่ละทางเลือก ขึ้นอยู่กับราคาเป็นตัวตัดสินใจให้เข้าไปใช้บริการ
สุดท้ายกลุ่มที่สี่ การนวด ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดและ คนส่วนใหญ่ก็แก้ปัญหาด้วยทางนี้กันเยอะเสียด้วย

ทั้ง 4 กลุ่มนี้เป็น Pain point ที่เกิดบนโลกออนไลน์ ที่เราหาได้จาก Social Data ที่มีการพูดคุยกันมากที่สุด ขึ้นอยู่กับความต้องการในการหาทางออกของโรคดังกล่าวที่เป็นอยู่
ถ้าเรารู้ Pain Point ด้วยพฤติกรรมที่เกิดขึ้นแล้ว การหาสินค้าที่ตรงกับความต้องการจะเป็น การบ้านที่เราต้องคิดต่อครับ จะหยิบยกมาเล่าในบทที่ 7 การหาสินค้าเพื่อตอบโจทย์ในการทำธุรกิจโดยใช้ Social Data
สรุปเนื้อหาในบทที่ 6 หาความต้องการของลูกค้า Pain point ด้วยพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน สามารถดูปัญหาที่เกิดขึ้นของกลุ่มเป้าหมายซึ่งใน Case Study นี้เป็นเพียงกลุ่มมนุษย์เงินเดือนเท่านั้น ที่หยิบยกออกมาเล่า ถ้าเป็นกลุ่มอื่นก็สามารถใช้หลักการเดียวกันได้
บทความ Beginning 101 เริ่มต้นใช้งาน Social Listening.
บทที่ 1. เริ่มต้นใช้งาน Social Listening. บทที่ 1 :เข้าใจแหล่งที่มาของข้อมูล
บทที่ 2. เริ่มต้นใช้งาน Social Listening.บทที่ 2 Data Thinking Mindset
บทที่ 3. เริ่มต้นใช้งาน Social Listening. บทที่ 3. เข้าใจพื้นฐานของเครื่องมือ
บทที่ 4. เริ่มต้นใช้งาน Social Listening บทที่ 4 ผลลัพท์ที่เราจะได้ จาก Social Listening
บทความ Beginning 201 เริ่มต้นใช้งาน Social Listening.
บทที่ 5 พื้นฐานของลูกค้าต้องการอะไร,อะไรเป็นตัวตัดสินใจให้ลูกค้าซื้อสินค้า
อย่าลืมติดตามบทที่ 7 ต่อไป การหาสินค้าเพื่อตอบโจทย์ในการทำธุรกิจโดยใช้ Social Data
สนใจอยากลอง Zocial Eye มีให้ทดลองใช้ฟรี 7 วัน

สามารถเข้ามา Link นี้ ได้เลย มีสอนฟรีด้วย https://idea2mobile.com/2018/wisesight_1.php
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่
พี่อ้วนสายมู
www.idea2mobile.com
Call : 0863863896
2 thoughts on “Beginning 201 เริ่มต้นใช้งาน Social Listening. บทที่ 6 หาความต้องการของลูกค้า Pain point ด้วยพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน”